การปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด: ศึกษาเฉพาะกรณีการปฏิบัติต่อเด็กตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546

ผู้แต่ง

  • ปิ่นบุญญา ลำมะนา คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • พิมลศักดิ์ นิลผาย คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ธรรมรัตน์ สินธุเดช คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • กฤติญา สุขเพิ่ม คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การอบรมเลี้ยงดูเด็ก, การอุปการะเลี้ยงดูเด็ก, การปฏิบัติตนต่อเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง 2) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง 3) เสนอแนะแนวการปฏิบัติตนต่อเด็กของผู้ปกครอง ในการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยศึกษารวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 351 คน จากโรงเรียน 6 แห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จำนวน 10 คน และผู้ปกครองของเด็ก จำนวน 15 คน  ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของการปฏิบัติของผู้ปกครองทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วยการอุปการะเลี้ยงดู การอบรมสั่งสอน การให้การศึกษาและพัฒนา และด้านความคาดหวังของผู้ปกครองในการศึกษาต่อ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.95 อยู่ในระดับมาก ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติต่อเด็กของผู้ปกครอง ได้แก่ การขาดความรู้และจิตสำนึก การขาดรายได้ของผู้ปกครอง ความเชื่อเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ไม่ถูกต้อง และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรเสนอว่าหน่วยงานรัฐต้องให้ความรู้ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้แก่ผู้ปกครอง การกำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้บิดามารดาได้เลี้ยงดูเด็กด้วยตนเอง สถานศึกษาและชุมชนต้องมีส่วนร่วมอบรมเลี้ยงดูเด็กและควรเพิ่มศักยภาพให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างบูรณาการภายใต้ฐานข้อมูลอย่างเป็นระบบ

References

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย. (2558). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558. สืบค้น จาก https://thailand.unfpa.org/ สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2563
กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2561). รายงานการดำเนินของรัฐต่อสาธารณะรายปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561.
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). เรียนรู้วิธีชมลูกอย่างไร. สืบค้นจากhttps://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2563
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2552). รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู: แนวคิดของ Diana Baumrid,
Diana Baumrind’s Parenting Styles. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 29(4): 173-187.
นวลตา อาภาคัพภะกุล. (2546). อิทธิพลของการเลี้ยงดูต่อการทำผิดกฎหมายของเด็กในภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย.
รัชฎา ชื่นเสียง. (2547). วิธีการอบรมสั่งสอนเด็กวัยรุ่นของบิดามารดาไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สิริลักษณ์ รัตน์วิทยากรณ์. (2553). องค์ประกอบการกระทำผิดของเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหารและกฎหมาย, 2(3): 161-191.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). มองครอบครัวไทยในมุมมองข้อมูล. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/สืบค้นวันที่ 8 ตุลาคม 2563
ศิวาพร คารวนันท์. (2551). ปัญหากฎหมายการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริกุล อิศรานุรักษ์และปราณี สุทธิสุคนธ์. (2550). การอบรมเลี้ยงดู. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 5 (1): 105-118.

Translated Thai References
Department of Juvenile Observation and Protection. (2018). Annual Report 2018.
Dulaya Chitayasothron. Parenting style: Diana Baumrid, Diana Baumrind’s Parenting Styles. University of the Thai Chamber of Commerce Journal, 29(4): 173-187.
Faculty of Medicine of Ramathibodi Hospital Mahidol University. (2011).
How to admire your child. (Online), Retrieved on https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/ (Accessed on 8 October 2020)
Nation Statisical Office. Looking at Thai families in data perspective.
(Online), Retrieved on http://service.nso.go.th/ (Accessed on 8 October 2020)
Ratchada Chanseang. (2004). A Study of Thai Parents' socialization of
Their Teen Children. Master of Arts (Social Development). National Institute of Development Administration.
Sirikul Isaranarug and Pranee Suthisukon. (2007). Child Rearing. Journal of
Public Health and Development, 5(1), 105-118.
Siriluk Ratvitayakron. (2010). The Culpability Performs. Components Of
Children And Youth In The Observation And Protection Center At Chonburi Province. Journal of politics, administration and law, 2(3): 161-191.
Sivaporn Karavanan. (2008). Problems in the Legal Enforcement of The
Child Protection Act B.E.2546. Master of Laws. Ramkhamhaeng University.
United Nations Population Fund Thailand Country Office. (2015). The State
of Thailand’s Population 2015. (Online), Retrieved on https://thailand.unfpa.org/ (Accessed on 8 October 2020)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)