การเปรียบเทียบนโยบายการจัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศ
คำสำคัญ:
กระบวนการจัดการศึกษา, หลักสูตรอาชีวศึกษา, การอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบนโยบายการจัดการศึกษาหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศ สภาพปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่ปัจจัยความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในต่างประเทศ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการวิจัยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสารหรือการวิจัยเชิงเอกสาร โดยเริ่มต้นจากการศึกษาแนวความคิดและกระบวนการเกี่ยวกับนโยบายอาชีวศึกษา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัยและบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายอาชีวศึกษา ทั้งเอกสารทางวิชาการประเภทต่าง ๆ ภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งข้อมูลทางวิชาการที่ได้จากการสืบค้นทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือทางเว็บไซต์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาความสอดคล้องของข้อมูลต่างๆ จากการศึกษาพบว่า การเปรียบเทียบนโยบายหลักสูตรอาชีวศึกษาในต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี และญี่ปุ่น เป็นประเทศที่รัฐบาลมีความมั่นคงและต่อเนื่อง ผู้นำรัฐบาลคือนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดี มีวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาประเทศจะเป็นผู้ริเริ่มและเป็นผู้นำในการชูนโยบายปฏิรูปการศึกษาในนามของรัฐบาลด้วยตนเอง มีการแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ผู้นำรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นทำการศึกษา รวบรวมข้อมูล และเสนอเป็นนโยบายต่อรัฐบาล โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและคณะกรรมการมีวาระชั่วคราว} ใช้ชื่อว่าเป็นหน่วยงานด้าน “วางแผน” หรือ หน่วยงานด้าน “วิจัย” และมีคณะกรรมการด้านนโยบายเป็นที่ปรึกษาให้กับกระทรวงหลายประเทศเช่น ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ลาว เวียดนาม พม่า ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีหน่วยงานวิจัยการศึกษาเป็นผู้ให้ข้อมูลจากการวิจัยเพื่อให้กระทรวงพัฒนานโยบาย บางประเทศ เช่น เกาหลี ญี่ปุ่น กำหนดให้มีสถาบันวิจัยการศึกษาแห่งชาติที่เป็นอิสระจากการบังคับบัญชาของกระทรวงศึกษาธิการ ญี่ปุ่นมีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยที่เป็นองค์การมหาชน ทำให้ NIER สามารถพัฒนางานวิจัยได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพและระดมนักวิจัยได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในขณะที่เวียดนามและสิงคโปร์มีสถาบันครุศาสตร์แห่งชาติ (NIE) ที่เน้นการวิจัยการศึกษาควบคู่ไปกับการผลิตและพัฒนาครู นอกจากนี้ NIE ของสิงคโปร์ NIER ของญี่ปุ่น และ KEDI ของสาธารณรัฐเกาหลีเน้นการพัฒนาหน่วยงานให้มีบทบาทโดดเด่นเป็นผู้นำในระดับนานาชาติ ด้วยการให้ความช่วยเหลือและความร่วมมือในการวิจัยตลอดจนการพัฒนาบุคลากรให้กับประเทศอื่น ๆ เช่น NIER ให้ทุนศึกษาดูงานแก่นักวิจัยการศึกษาประเทศที่มีความร่วมมือกัน KEDI เป็นตัวแทน UNESCO-IIEP ในการฝึกอบรมบุคลากรด้านการวางแผนการศึกษาแก่ประเทศด้อยพัฒนา NIE ของสิงคโปร์พัฒนาผู้บริหารการศึกษาให้กับบรูไน เวียดนาม และบาห์เรน สำหรับ สภาพปัญหาจะเห็นว่าปัจจัยเรื่องภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ผู้นำขององค์กรเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนางานวิจัยและนโยบายการศึกษา นอกจากนี้ ความเป็นอิสระขององค์กรวิจัยเป็นอีกเงื่อนไขหนึ่งที่จะทำให้สถาบันวิจัยการศึกษาดำเนินงานอย่างอิสระ ไม่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายการเมือง ข้อเสนอแนะปัจจัยความสำเร็จของการจัดการอาชีวศึกษาในต่างประเทศ ประกอบด้วย ปัจจัยความสำเร็จระดับนโยบาย (2) ปัจจัยความสำเร็จระดับสถานศึกษา (3) ปัจจัยความสำเร็จระดับผู้เรียน และ (4) ปัจจัยความสำเร็จระดับชุมชน
Downloads
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). การดำเนินงานด้านนโยบายการศึกษาขององค์กรนโยบายการศึกษาระดับชาติในกลุ่มประเทศ-อาเซียนและอาเซียนบวกสาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์-สกศ.
บรรเลง ศรนิล. (2548). การวิจัยเส้นทางการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี.กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
Wood, D., Bruner, J. S., & Ross, G. (1976). The role of tutoring in problem solving. Journal of Child Psychology and Psychiatry, 17(2), 89-100.
Translated Thai References
Ministry of Education, Office of the Vocational Education Commission.
(2018). Meeting Report to consider observations and suggestions of Commission for Education and Sport, The National Legislative Assembly about Guidelines for educational management of joint courses in vocational education and high school. Bangkok: Ministry of Education
Ministry of Education, Office of the Education Council Secretariat. (2014).
Operation Educational policy of national educational policy organizations in the countries - ASEAN and ASEAN Plus Three. Bangkok: Prikwhan Grapfic.
Ministry of Education, Office of the Education Council Secretariat. (2016).
Study Report Developing Educational Standards of Foreign Countries. Bangkok: Office of the Education Council Secretariat Press.
Sornnil, B. (2005). Research of vocational education pathways and technology. Bangkok: PhabPim