ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเสริมพลังการจัดทำแผนชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อาริยา ป้องศิริ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

แผนชุมชน, การมีส่วนรวม, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มุ่งเน้นการศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของตัวแสดงต่าง ๆ ในการเสริมพลังการจัดทำแผนชุมชนของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตำบลกุดหว้า ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ร่วมกับการวิจัยที่ผสมผสานการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ด้วยการสัมภาษณ์ เฉพาะบุคคลเพื่อค้นหาประเด็นที่ต้องการทราบ ร่วมกับการสนทนากลุ่ม เพื่อยืนยันประเด็นที่ค้นพบต่าง ๆ โดยการใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีส่วนร่วมในการเสริมพลังการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนของกลุ่มท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม นั้นสามารถจำแนก ได้เป็น 2 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ซึ่งเป็นความแตกต่างของบุคคล แต่สิ่งที่ทั้งสองแห่งเหมือนกัน คือ ผู้นำ เนื่องจากเอกลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมผู้ไทเป็นการให้ความเคารพและเชื่อฟังต่อผู้นำชุมชน  และยิ่งหากเป็นพ่อล่าม-แม่ล่ามด้วยแล้ว ยิ่งจะให้ความเคารพนับถือย่างมาก และความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคลของบ้านโคกโก่งที่ส่วนใหญ่คนในชุมชนเป็นผู้สูงอายุ ซึ่งในการท่องเที่ยวนั้นลักษณะการดำเนินงานท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบโฮมสเตย์ ต้องใช้คนจำนวนมาก แต่เนื่องจากบ้านโคกโก่งมีจำนวนคนจำกัด จึงต้องใช้เครือข่ายของผู้นำที่มีอยู่ เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้น ส่วนบ้านกุดหว้านั้น จะพบว่าคนที่ดำเนินการด้านการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุที่ไม่ได้แก่มากนัก  ซึ่งจะเป็นศักยภาพสำคัญในการขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยว โดยที่คนกลุ่มนี้ต้องการให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับฟังความคิดเห็น และร่วมกันหาทางออกที่เหมาะสมในด้านการท่องเที่ยว ปัจจัยต่อมาคือ ปัจจัยเกี่ยวกับองค์กร โดยองค์การที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมจะต้องมีการสร้างความคุ้นเคยแก่ชาวบ้าน เพื่อลดปัญหาการต่อต้าน และรูปแบบกิจกรรมต้องเหมาะสมกับบริบทของชุมชน รวมถึงหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้องต้องมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ และความตั้งใจจริงในการพัฒนาชุมชนด้านการท่องเที่ยวอย่างแท้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารุพงศ์ พลเดช. (2560).การจัดทำแผนชุมชน. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2562 เข้าถึงได้จาก http://www.chiangrang.go.th)
ธนาราช คงคารักษ์, สถาพร เริงธรรม.(2562). การมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนในกระบวนการวางแผนพัฒนาตำบล ศึกษากรณีตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด และตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3. หน้า 163-191.
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2550). การเสริมพลังให้กับองค์กรท้องถิ่น โดยผ่านทาง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์.วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 5, 1 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 87-122.
บัณฑิต สกุลบงการ. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนของ
องค์การบริหารส่วนตำบลตากแดด อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร. วารสารสหวิทยาการวิจัย (ฉบับบัณฑิตศึกษา) ปีที่ 4 ฉบับที่ 2. หน้า 49 - 55.
ไพโรจน์ ภัทรนรากุล.(2550). การจัดการภาครัฐกับการเสริมพลังประชาชน. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์. 5, 1 (พฤษภาคม-สิงหาคม): 87-122.
วนิดา วัชนุชา. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวางแผนชุมชนท้องถิ่น : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลแสนต้ง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
วิวัฒน์ หามนตรี. (2556). การจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลชัยฤทธิ์ อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. วารสาร มรม.(มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 : มกราคม - เมษายน 2556 หน้า 39-45.
วิภาวี กฤษณะภูติ และกิตติศักดิ์ ปลาทอง. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการชุมชนในภาวะมหาอุทกภัยปี 2554: เรียนรู้ความสำเร็จจากชุมชนเทศบาลนครปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม. หน้า 65-88.
อภิวัฒน์ ปะกิทัง. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (นโยบายสาธารณะ). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Translated Thai Reference
Hamontree, W. (2013). Establishing a participatory community plan to promote sufficiency economy Chairit sub-district, Chai Yo district, Ang-Thong Province. M.T.A. (Humanities and Social Sciences).7(1) (January – April): 39-45.
Grisanaputi, W. and Plathong, K. (2013). Community Engagement in Community Management in The Great Flood 2011: Learning Success from Pak Kret Municipality Community in Nonthaburi Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. 30 (2) (May – August): 65-88.
Kongkarak, T and Rengtham, S. (2019). Participation of community councils in the district development planning process A study of Nong Saeng sub-district, Ban Haet district, and Ban Wa sub-district, Muang District, Khon Kaen Province, Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University. Journal of Humanities Social Sciences 36 (3): 163-191.
Pakitang, A. (2010). Public participation in the preparation of community plans in Kalasin Municipality. Thesis (Public Policy). Mahasarakham : Graduate School of Mahasarakham University.
Pathranarakul, P. (2007).Governmentmanagement and public empowerment. Thai Journal of Public Administration .5(1) (May-August): 87-122.
Pondech, J. (2017). Community Plan Preparation. [online]. Retrieved September 14, 2019, from http://www.chiangrang.go.th.
Sakulbuengkan, B. (2015). Public participation in the community plan of Tak Daet Sub District Administration Organization Muang Chumphon, Chumphon Province. Journal of Interdisciplinary Research (Graduate Edition). 4(2) : 49 – 55.
Watchanucha , W.(2015). Public Participation in the Local Community Planning Process : Case Study of Saen Tong Sub-District Municipality, Khao Saming District, Trat Province. Master of Public Administration (Local Government), Rambhai Barni Rajabhat.
Wedchayanon, N. (2007). Empowerment to local organizations. Thai Journal of Public Administration .5 (1) (May-August): 87-122.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26