การศึกษาเชิงวิเคราะห์และเปรียบเทียบอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิเด็ก และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กรณีเด็กอุ้มบุญ

ผู้แต่ง

  • พรนิภา วิเศษสุวรรณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์แทน, เด็กอุ้มบุญ, หลักการคุ้มครองสิทธิเด็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเป็นมา วัตถุประสงค์ หลักการคุ้มครองเด็กของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 กรณี เด็กอุ้มบุญ เพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายสามารถคุ้มครองสิทธิเด็กเกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์อย่างได้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยการทบทวนวรรณกรรม มุ่งเน้นศึกษาด้วยการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 ท่าน เป็นผู้ที่มีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตั้งครรภ์และการจัดทำกฎหมายของประเทศไทย แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบสรุปพรรณนา ให้รายละเอียด ผลการวิจัยพบว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับเกิดจากปัญหาการละเมิดสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำกฎหมายคุ้มครองสิทธิเด็กของแต่ละประเทศให้มีมาตรฐาน เทียบเท่าหรือสูงกว่าที่กำหนไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ประเทศไทยได้จัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิด โดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเด็กอุ้มบุญ โดยใช้หลักความคุ้มครองสิทธิเด็กของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กเป็นบรรทัดฐานในการจัดทำ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตาม มาตรฐาน หลักความคุ้มครองสิทธิเด็กที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ อีกทั้งเมื่อศึกษาลึกลงไปยังพบว่าพระราชบัญญัติฯ ยังไม่สามารถ ให้ความคุ้มครองสิทธิเด็กอุ้มบุญได้ครอบคลุมทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกจากนี้ ยังมีความย้อนแย้งของตัวพระราชบัญญัติในเรื่องการใช้เซลล์สืบพันธุ์ในกระบวนการตั้งครรภ์แทน อีกทั้งการตรวจวินิจฉัยโรคของผู้เกี่ยวข้องที่ยังไม่มีความเข้มงวด สุ่มสี่ยงเกิดปัญหาโรคทางพันธุกรรมหรือโรคที่อาจติดต่อจากแม่อุ้มบุญได้ทำให้เด็กอุ้มบุญอาจถูกท้องทิ้ง ข้อเสนอแนะจากการวิจัย รัฐบาลไทยควรดำเนินการ 1) ปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักความคุ้มครองสิทธิเด็กที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและคำนึงถึงสิทธิของเด็กอุ้มบุญที่เกิดจากกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศด้วย 2) ไม่ควรใช้เซลล์สืบพันธุ์บริจาคมาใช้ในกระบวนการตั้งครรภ์แทน และเข้มงวดในเรื่องการตรวจวินิจฉัยโรคโดยกำหนดโรคที่ควรต้องตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจทั่วไป 3) ควรเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายกับแพทย์ที่ให้บริการและหญิงที่รับตั้งครรภ์ควรให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้  

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลา เทพวงค์. (2556). การคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (อุ้มบุญ). เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรผู้พิพากษา
ผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 11 สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาล
ยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2560). ทฤษฎีประกอบสร้างนิยม (constructivism) กับไอร์แลนด์และเซอร์เบีย. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_600153, 15 พฤษภาคม 2561
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2560). แนวคิดละทฤษฎีเกี่ยวกับครอบครัวและชุมชน, เอกสารการสอน ชุดวิชาการศึกษาชีวิตครอบครัวและชุมชน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เชษฐ รัชดาพรรณาธิกุล. (2561). หัวหน้าศูนย์กฎหมายการแพทย์ สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและวิทยาศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สัมภาษณ์, 21 พฤศจิกายน 2561
ประสพสุข บุญเดช. (2561). อดีตประธานวุฒิสภาไทย. สัมภาษณ์, 9 กุมภาพันธ์ 2561
เพิ่มศักดิ์ สุเมฆศรี. (2561). ผู้อำนวยการกองสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาล
พระมงกุฎเกล้า. สัมภาษณ์, 20 มกราคม 2561
ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายอุ้มบุญตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญ
พันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์
วิญญูชน จำกัด.
รัชพร เลี้ยงประเสริฐ. (2561). นักวิชาการสาขารัฐศาสตร์. สัมภาษณ์, 8 ธันวาคม 2561
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2544). สังคมวิทยาครอบครัว. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรวิทย์ สุภาวิตา. (2561). นายแพทย์. สัมภาษณ์, 20 ธันวาคม 2561

Translated Thai References
Boondech, P. (2018). Former President of the Thai Senate. Interview, 9 February 2018.
Dechakup, C. (2017). Concepts and theories about family and community; Teaching materials Academic series of family life study and community. Nonthaburi. Sukhothai Thammathirat Open University.
KosaiKanon, Y. (2014), Basic knowledge about the surrogacy law on The Act on the Protection of Children Born from Assisted Reproductive Technologies in Medical Science (2015), Bangkok: Winyuchon Publishing Company Limited


Kumpraphan, S. (2018). Specialist at the National Human Rights
Commission, Committee of Experts in Child Welfare In the National Child Protection Board, Interview, 14 Jan 2018
Liengprasert, R. (2018). Academic of Political Science. Interview, 8 Dec 2018
RatchadapunnathIkul, C. (2018). Head of Medical Law Center
Environmental health and Science, Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University. Interview, 21 Nov 2018
Suchameksri, P. (2018). Director of the Obstetrics and Gynecology
Division, Phramongkutklao Hospital. Interview, 20 Jan 2018
Supawita, S. (2018). Interview, 20 Dec 2018
Tepwong, K. (2017), Protection of children born through assisted
reproductive technology (surrogate), Documentation for Executive Judge Training Course, Class 11 Judicial Training Institute Office of the Court of Justice, 2013.
Wongsurawat, K. (2017), constructivism with Ireland and Serbia, https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_600153, 15
May 2018

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-26