การรณรงค์ทางการเมืองบนโลกออนไลน์เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจ: กรณีศึกษาเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “THE METTAD” และ “ลุงตู่ตูน” ในช่วงการเลือกตั้ง 2562

ผู้แต่ง

  • ทัตเทพ ดีสุคนธ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การรณรงค์ทางการเมือง, เฟซบุ๊กเพจ, การเลือกตั้ง 2562

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาลักษณะและนัยสำคัญของการรณรงค์ทางการเมืองผ่านเฟซบุ๊กเพจ “ล้านชื่อต้านล้างผิด” “THE METTAD” และ “ลุงตู่ตูน” ซึ่งมีลักษณะเป็นเฟซบุ๊กเพจนิรนามที่ไม่สามารถระบุตัวตนของผู้ก่อตั้งเพจได้ชัดเจน แต่ผลิตเนื้อหาเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอำนาจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์และโจมตีคู่แข่งทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเลือกตั้ง 2562 โดยศึกษาผ่านรูปแบบการนำเสนอและประเด็นที่เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจใช้ในการรณรงค์ รวมถึงลักษณะการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้เฟซบุ๊กที่ปรากฏบนเฟซบุ๊กเพจดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า แม้เฟซบุ๊กทั้ง 3 เพจจะนิยมใช้รูปแบบการนำเสนอที่สอดคล้องไปตามวัฒนธรรมการสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ยุคปัจจุบัน แต่ประเด็นส่วนใหญ่ที่หยิบยกมานำเสนอยังคงผูกโยงอยู่กับชุดอุดมการณ์ที่ครองอำนาจนำในสังคมไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ นอกจากนั้นผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนใหญ่มักแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาที่เพจนำเสนอไปในเชิงสนับสนุนและคล้อยตาม จนอาจทำให้เฟซบุ๊กเพจนิรนามเหล่านี้กลายเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ห้องเสียงสะท้อน (Echo Chamber) บนโลกสื่อสังคมออนไลน์ซึ่งรวมกลุ่มคนที่สนับสนุนรัฐบาลพลเอกประยุทธ์เข้ามาไว้ด้วยกัน โดยไม่ได้แพร่กระจายเนื้อหาไปสู่กลุ่มคนที่มีอุดมการณ์แบบอื่น ๆ มากนัก และถึงแม้เนื้อหาบางส่วนที่เพจผลิตขึ้นจะเข้าข่ายเป็นข้อมูลบิดเบือน แต่ผู้ใช้เฟซบุ๊กภายในห้องเสียงสะท้อนนี้ก็ยังคงเห็นคล้อยตามกับข้อมูลเหล่านั้นต่อไป เพราะเป็นข้อมูลที่ถูกสร้างให้สอดรับกับชุดอำนาจนำและชุดความคิดดั้งเดิมของตน โดยหล่อเลี้ยงจิตใจมวลชนฝั่งสนับสนุนรัฐบาลให้ยังคงเชื่อมั่นในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ และลดความชอบธรรมของคู่แข่งทางการเมืองลงไปเรื่อย ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กล้า สมุทวณิช. (2562). ยุทธการข้อมูลข่าวสาร เพื่อต่อต้าน ‘อนาคต’. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: matichon.co.th/article/news_1368952
ข่าวเวิร์คพอยท์. (2561). ปฏิบัติการ IO ภารกิจกู้ชีพรัฐบาล. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: bit.ly/2Cjbau6
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2563). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
มติชน. (2561). ผุดเพจ “ลุงตู่ตูน” สื่อสารการทำงานรัฐบาล วาดนายกฯ เป็น “ซุปเปอร์ลุงตู่”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: matichon.co.th/politics/news_1113896
มติชน. (2563). ฟังเต็มๆ “วิโรจน์” แฉเดือด “ประยุทธ์” เบื้องหลัง IO ปลุกปั่น ทำสังคมแตกแยก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: matichon.co.th/matichon-tv/news_2005867
เรนเมคเกอร์. (2562). ส่องการหาเสียงออนไลน์ โค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้ง 62. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: rainmaker.in.th/party-promote-online-thailand-election-2562
วัชรพล พุทธรักษา. (2557). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของ อันโตนิโอ กรัมชี่. กรุงเทพฯ: สมมติ.
BBC Trending. (2016). US Election 2016: Trump’s ‘hidden’ Facebook army. [Online]. Available from: bbc.com/news/blogs-trending-37945486
Corbley, A. (2020). The Ultimate Guide to Image Use and Boosting Engagement through Images. [Online]. Available from: shorturl.at/gyN36
Du, S., and Gregory, S. (2017). The Echo Chamber Effect in Twitter: does community polarization increase? In Cherifi, H. et al. (eds.), Complex Networks & Their Applications V, pp.373-378. Cham: Springer.
Ireton, C., and Posetti, J. (2018). Journalism, ‘Fake News’ & Disinformation. Paris: UNESCO.
Knight, M. (2018). Explainer: how Facebook has become the world’s largest echo chamber. [Online]. Available from: shorturl.at/otMUX
Mayka, R. (2020). Conspiracy Theories, Fake News and Disinformation: Why There’s So Much of It and What We Can Do About it. [Online]. Available from: shorturl.at/mtRT9
Ross, P. (2014). Photos Are Still King on Facebook. [Online]. Available from: socialbakers.com/blog/2149-photos-are-still-king-on-facebook

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27