รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

-

ผู้แต่ง

  • ทวีภรณ์ วรชิน โรงเรียนกาญจาภิเษกวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

รูปแบบ; แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา; แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ 2) สร้างรูปแบบ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้  4) ประเมินคุณภาพนักเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง หลังจากการใช้รูปแบบสำหรับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กาฬสินธุ์  กลุ่มเป้าหมายมี กลุ่มที่ 1 ผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 57 คน กลุ่มที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน กลุ่มที่ 3 ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คน กลุ่มที่ 4 ผู้บริหาร ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น 229 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลบรรยายเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของความเป็นแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและท้องถิ่น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) การบริหารจัดการศึกษา 2) การจัดการเรียนการสอน 3) คุณภาพผู้เรียน  4.การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง  5.การนิเทศการศึกษา และ 6.การให้บริการแหล่งเรียนรู้  2. รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษาและท้องถิ่น มี 7 ขั้นตอน คือ APISIDE ดังนี้ 1) การวิเคราะห์  2) การวางแผน  3) การจัดการเรียนรู้  4) การให้บริการ 5) การสร้างนวัตกรรมและการเชื่อมโยงความรู้สู่สากล 6) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และ 7) การประเมินผลและเผยแพร่ และคู่มือการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้  3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ พบว่า มีระดับการปฏิบัติโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4. ผลการประเมินคุณภาพนักเรียนและประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง หลังใช้รูปแบบ พบว่า นักเรียนมีคุณภาพด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์สูงขึ้นทุกระดับชั้น ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  

คำสำคัญ:  รูปแบบ; แหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา; แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกพร ฉิมพลี. (2555). รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน
หัตถกรรมเครื่องจักสาน : กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัด
นครราชสีมา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พัฒนาสังคมและการจัดการ
สิ่งแวดล้อม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒน-
บริหารศาสตร์.
กิ่งแก้ว อารีรักษ์. (2548). การจัดการความรู้โดยใช้รูปแบบหลากหลาย.
กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์.
ชนิดา วิสะมิตนันท์. (2541). การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน. สงขลา : หน่วย
ศึกษานิเทศก์ กระทรวงึกษาธิการ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่ 7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน
ประวิต เอราวรรณ์. (2545). การวิจัยปฏิบัติการ : การเรียนรู้ของครูและการสร้าง
พลังร่วมในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร : ดอกหญ้าวิชาการ.
ประเวศ วะสี. (2554). กระบวนการนโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ : มูลนิธิ
สาธารณสุขแห่งชาติ.
ประเวทย์ งามวิเศษ. (2547). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดแหล่งเรียนรู้ของ
โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดหนองคาย.
วิทยานิพนธ์ ค.ม.(การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พจนี พรหมจิตต์. (2553). ภาวะผู้นำของคณะกรรมการพัฒนาสตรีตำบล.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พยุง ใบแย้ม. (258). การพัฒนารูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นที่เหมาะสม
เพื่อการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎี
บัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัย
ราชภัฏกาญจนบุรี.
ศิริกาญจน์ โกสมุภ์ และดารณี คำวัจนัง. (2545). ชุดพัฒนาสู่มาตรฐานการศึกษาขั้น
พื้นฐาน : สอนเด็กให้คิดเป็น. กรุงเทพฯ : เสริมสินพรีเพรสซิสเท็ม.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). รายงานการวิจัย
การพัฒนามาตรฐานแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :ชุมชนสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 20 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาคุณธรรม
จริยธรรมค่านิยมและการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง.
กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27