พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควัน : กรณีศึกษานโยบายไฟป่าและหมอกควัน จ.เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มัทนา ปัญญาคำ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

คำสำคัญ:

นโยบาย , ไฟป่า หมอกควัน, ห้ามเผา

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบาย 1. พัฒนาการและลักษณะของนโยบายไฟป่าและหมอกควันประเทศไทย และ 2.นโยบายไฟป่าและหมอกควันจังหวัดเชียงใหม่ผ่านกรอบแนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วมและการวิเคราะห์ผ่านหลักการการออกแบบสถาบันในการจัดการทรัพยากรร่วมโดย Elinor Ostrom การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพใช้แนวทางการพรรณนาตีความ ใช้วิธีการเก็บข้อมูล 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ 1. เอกสารรูปแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ 2. การสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการนโยบายไฟป่าและหมอกควันสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ 1) ยุคก่อนนโยบายห้ามเผา (พ.ศ.2484 - 2550) มีนโยบายได้แก่ นโยบายป่าไม้, นโยบายหมอกควัน และนโยบายบรรเทาสาธารณภัย รัฐไทยไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันในแง่หลักวิชาการบริหารป่าไม้ มากไปกว่านั้น รัฐไทยมุ่งเน้นการเอาคนชนบทออกจากป่าและการลงโทษผู้ก่อให้เกิดไฟป่า และ 2) ยุคนโยบายห้ามเผา (พ.ศ.2556) ที่ได้ออกมาตรการห้ามเผาที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิด ได้แก่ เกษตรกร และการจัดการเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่า และผลวิจัยยังพบว่า รัฐออกมาตรการมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า แม้ว่าสถานการณ์ในจังหวัดยังคงมีความรุนแรงนับมาตั้งแต่ปี 2550 นโยบายไฟป่าและหมอกควันที่ผ่านมาอยู่ในรูปแบบการจัดการทรัพยากรร่วมโดยรัฐ และเมื่อพิจารณาหลักการการออกแบบสถาบันในการจัดการทรัพยากรร่วม พบว่า มีความสอดคล้องกับหลักการของ Ostrom ในระดับที่ต่ำ โดยเฉพาะการกีดกันไม่ให้ชนบทในฐานะผู้ใช้ทรัพยากรได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย จึงไม่ก่อให้เกิดกรอบความร่วมมือในเชิงนโยบาย และประสบกับความล้มเหลวในที่สุด ดังนั้น ผู้วิจัยเสนอว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงกติกาเชิงสถาบันไปเป็นการจัดการทรัพยากรร่วมรูปแบบผสมระหว่างชุมชนและรัฐ มากกว่าเน้นตัวแสดงใดตัวแสดงหนึ่ง

คำสำคัญ:  นโยบาย; ไฟป่า หมอกควัน; ห้ามเผา

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาอังกฤษ
Elinor Ostrom. (1990). Governing the commons: The evolution of institutions for collective
action: Cambridge university press.
ภาษาไทย
ชล บุนนาค.(2554). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม:ประสบการณ์จากต่างประเทศ และแนวคิดในประเทศไทย. ป. จันทิวย์ (Ed.), การสำรวจองค์ความรู้เพื่อการปฎิรูปประเทศไทย
ธันยพร บัวทอง. (2562). ฝุ่น : เชียงใหม่ วิกฤตหมอกควันภาคเหนือ วาระแห่งชาติที่ยังแก้ไม่ได้มา 12 ปี. BBCออนไลน์. Retrieved from https://www.bbc.com/thai/thailand-47550696
พระราชบัญญัติบรรเทาสาธารณภัย พุทธศักราช 2550. ( 2550, 28 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484. ( 2484, 14 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติอุทยาน พุทธศักราช 2504. ( 2504, 22 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติป่าสงวน พุทธศักราช 2507. ( 2507, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พุทธศักราช 2535. (2535 ,29 มีนาคม).
ราชกิจจานุเบกษา
มงคล รายะนาคร. (2553). หมอกควัน และมลพิษทางอากาศ ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: ล๊อคอินดีไซน์เวิร์ด.
วิจารย์ สิมาฉายา. (2554). มลพิษจากหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ : ปัญหาและแนวทาง. กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม
ศุทธินี ดนตรี และคนอื่น ๆ .(2557). การจำแนกเชิงพื้นที่ของพื้นที่เผาไหม้เพื่อการเฝ้าระวังและการป้องกันการเผาในที่โล่ง: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน. กรุงเทพฯ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
สมเกียรติ มีธรรม. (2563). ฉีกหน้ากากไฟป่าภาคเหนือ. GATE MAGZIZE. เข้าถึงได้จาก :
https://gatemagazine.blogspot.com/2020/04/blog-post.html?m=1&fbclid=IwAR1GTKqdjT2lwaQNZrq-DVKgMl2nO18jBkH1IMG9oStDRi8HLHZacdZPt7U
สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่, ( 2563). กำหนดเขตควบคุมการเาในที่โล่งทุกชนิดและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม. ประกาศจังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2558). รายงานสรุป สถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูลดาวเทียม 2558. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2559). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูลประจำปี 2559. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2560). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูล ประจำปี 2560. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2561). รายงานสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูลดาวเทียม ประจำปี 2561. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2562). รายงานสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูลดาวเทียม ประจำปี 2562. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2563). รายงานสรุปสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควัน จากข้อมูลดาวเทียม ประจำปี 2563. Retrieved from http://fire.gistda.or.th/
อัจฉรา รักยุติธรรม. (2543). นิเวศวิทยาการเมืองของไฟป่าในประเทศไทย : กรณีศึกษา ไฟป่าที่อุทยานแห่งชาติ
ดอยอินทนนท์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27