เงื่อนไขที่ทำให้ผู้หญิงถูกเลือกเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ทิฆัมพร แสนเจ๊ก 0876887826
  • ณัฐกานต์ อัครพงศ์พิศักดิ์

คำสำคัญ:

สตรีนิยม, การเมืองในชีวิตประจำวัน, เพศสภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในการเข้าสู่ตำแหน่งผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านของผู้หญิง รวมถึงการต่อรองและปรับตัวต่อสถานการณ์และอุปสรรคที่ถูกกำหนดโดยปัจจัยเพศสภาพ ในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการวิจัยเอกสารประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้หญิงในตำบลร่องคำ 4 คน บุคคลที่ร่วมปฏิบัติงานกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่เป็นผู้ชาย 3 คน ทั้งนี้ ข้อมูลจากเอกสารใช้ทฤษฎีการคิดของมาร์ซาโนในการวิเคราะห์ข้อมูล ส่วนข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ ผลการศึกษาทำให้เห็นว่าการที่ผู้หญิงถูกเลือกให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านมาจากบุคคลสองฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายผู้เลือกคือผู้ใหญ่บ้าน โดยมีเงื่อนไขว่าผู้หญิงที่ถูกเลือกต้องมีความเป็นผู้นำ เคยทำงานเพื่อส่วนรวมมาก่อน มีความรู้จักคุ้นเคย เป็นที่นับหน้าถือตาของหมู่บ้าน และต้องได้รับการสนับสนุนจากครอบครัว ส่วนฝ่ายผู้ถูกเลือกซึ่งก็คือผู้หญิงมีเงื่อนไขในการเข้ามาเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านก็คือตำแหน่งนี้เป็นแหล่งรายได้ ตัวเองมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใหญ่บ้าน ต้องการเป็นที่ยอมรับ และเป็นแรงจูงใจส่วนบุคคลที่ต้องการเข้ามาพัฒนาท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม การทำงานของผู้หญิงก็ยังมีข้อจำกัดในด้านเพศสภาพ ดังนั้น เมื่อได้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องมีการปรับตัวและต่อรองเพื่อให้สามารถทำงานได้ทั้งงานในบ้านและงานฝ่ายปกครอง โดยการปรับตัวและต่อรองด้วยการแสดงออก การสร้างพื้นที่ในสังคม ตลอดจนการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศขึ้น

คำสำคัญ: สตรีนิยม; การเมืองในชีวิตประจำวัน; เพศสภาพ

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2561). รายนามข้าราชการระดับสูง. สืบค้นจาก http://www.personnel.moi.go.th/name_mahadthai/menu_name.htm, เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). ปิตาธิปไตย: ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงในสังคมเอเชีย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 4(2).
เมทินี พงษ์เวช. (2541). ผู้หญิงบนเส้นทางแห่งอำนาจและการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551. (2551, 5 กุมภาพันธ์) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125. หน้า 27 ก.
ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2553). ปรัชญาภาวะสตรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วารุณี ภูริสินสิทธิ์. (2545). สตรีนิยม ขบวนการและแนวคิดทางสังคมแห่งศตวรรษที่ 20. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2550). รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 23 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550. สืบค้นจาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_ give/hr23mem210152.pdf?fbclid=IwAR0qIjspqdHzEg7paZmk9hf7RVsMqlP4K-08SQruZkqdnmvH-QwjNWfYbnE, เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.
สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2559). ข้อมูลทางการปกครอง. สืบค้นจาก https://multi.dopa.go.th/pab/news/cate9/view46, เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.
สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2561). ส่วนบริหารงานกำนันผู้ใหญ่บ้าน. สืบค้นจาก https://multi.dopa.go.th/svhad/main/web_index, เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.
เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27