การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาไทย
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพยากรมนุษย์; ความผูกพันต่อองค์การ; การธำรงรักษาพนักงาน; ผลประโยชน์และค่าตอบแทนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย 2) ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การในสถาบันอุดมศึกษาไทย 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถาบันอุดมศึกษาไทย และ 4) ศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาไทยในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การฝึกอบรมและการพัฒนามีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่การธำรงรักษาพนักงาน การสรรหาและการคัดเลือก และผลประโยชน์และค่าตอบแทน ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์การในสถาบันอุดมศึกษาไทย โดยรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความผูกพันด้านความรู้สึก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความผูกพันด้านบรรทัดฐาน และความผูกพันด้านการดำรงอยู่ในองค์การ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์การ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .127 ถึง .589 ซึ่งคู่ที่มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สูงที่สุด ได้แก่ การธำรงรักษาพนักงานกับความผูกพันต่อองค์การ ส่วนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การมากที่สุด ได้แก่ การธำรงรักษาพนักงาน ประโยชน์และค่าตอนแทน การฝึกอบรมและการพัฒนา และการสรรหาและการคัดเลือกตามลำดับ
คำสำคัญ: การบริหารทรัพยากรมนุษย์; ความผูกพันต่อองค์การ; การธำรงรักษาพนักงาน; ผลประโยชน์และค่าตอบแทน
Downloads
References
จารุนันท์ อิทธิอาวัชกุล. (2553). การบริหารคนเหนือตำรา. กรุงเทพมหานคร: เนชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล เอ็ดยูเคชั่น.
พัชรกานต์ นิมิตรศดิกุล. (2558). กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มณีกาญจน์ เวียงรัตน์. (2556). ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอวัฒนานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วันวิสา จงรักษ์. (2558). กระบวนการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศอินโดนีเซีย. วิทยานิพนธ์การจัดการวิศวกรรมธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการวิศวกรรมธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี ปทุมธานี.
สมติ สัชฌุกร. (2550). หลักที่จำเป็นสำหรับการทำงานในยุคปัจจุบัน (HR) (Online). https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=348&pageid=2&read=true&count=true.
Buchanan, B. (1994). “Building organization commitment: The socialization of managers in work organization.” Administrative Science Quarterly, 5(2), 352-358.
Channuwong, S. (2008). “Human resource management of the private and public universities
in Bangkok Metropolitan Areas.” Journal of Association of Private Higher Education
Institutions of Thailand, 14(2), 176-191.
Channuwong, S. (2015). “Organizational commitment of university staff and lecturers: A case
study of Mahamakut Buddhist University.” Journal of Community Development
Research, 8(3), 34-46.
Dessler, G. (2008). Human resource management. New Jersey: Pearson Education, Inc.,
Upper Saddle River.
Gitman, L.J. and McDaniel, C. (2008). The future of business: The essentials. Ohio:
South Western Cengage Learning.
Mowday, R.I., Porter, L.W., and Steers, R.M. (1982). Employee-organization linkages:
the psychology of commitment, absenteeism, and turnover. NY: Academic
Press.
Mondy, R.W., Noe, R.M. and Premeaux, S.R. (1999). Human resource management. NJ:
Upper Saddle River.
Spector, P.E. (2000). Industries and organizational psychology research and
practice. NY: John Wiley & Sons.
Wongpraisit, N. (2015). “Employee engagement: The challenge for diverse human resource
management of private hospital in Thailand.” Journal of Community Development
Research, 8(1), 16-31.
Translated Thai References
Chongrak, W. (2015). The process of human resource management affecting
performance effectiveness of coal industry in Indonesia. Master of Engineering
Business Thesis, Faculty of Business Administration, Major: Engineering Business
Management, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathum Thani.
Ethti-avachakul, J. (2010). Human management beyond text. Bangkok: Nation International
Education.
Nimitsakdikul. P. (2015). The process of human resource management of Nakhon
Pathom Rajabhat University. Master of Business Administration Thesis, Graduate
School, Silpakorn University.
Sujchukorn, S. (2010). Necessary principles for current working (HR). (Online).
https://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=348&pageid=2&read=tr
ue&count=true
Theerathanachaikul, K. (2014). Human resource management. Bangkok: Asia Press.
Viangrat, M. (2013). An organizational commitment of teachers of educational extended
schools, Wattananakorn district, under the Office of Primary Educational Service
Area 2. Master of Education Thesis, Major Field: Education, Faculty of Education,
Burapha University.