การสร้างความปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกตั้ง กรณีศึกษา การเลือกผู้ใหญ่บ้าน พื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ดา ชาวกล้า สำนักทะเบียนอำเภอเพ็ญ
  • อลงกรณ์ อรรคแสง

คำสำคัญ:

ความปรองดองสมานฉันท์, การเลือกผู้ใหญ่บ้าน, อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์และลักษณะของความขัดแย้ง รวมถึงกระบวนการและแนวทางพัฒนาของการสร้างการปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ โดยอาศัยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เลือกอย่างเฉพาะเจาะจง 2 กลุ่ม ได้แก่ ด้านชุมชนและด้านหน่วยงานของรัฐ ทั้งสิ้น 42 คน ทั้งนี้ จะใช้แนวคิดความขัดแย้งและแนวคิดการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในการวิเคราะห์ข้อมูล การศึกษาพบปรากฏการณ์และลักษณะของความขัดแย้งในรูปแบบการไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน การคอยจ้องจับผิดและร้องเรียนการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน รวมไปถึงการใช้ความรุนแรง โดยเกิดขึ้นระหว่างผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง ระหว่างญาติของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านกับตัวผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านอีกฝ่าย และกลุ่มพรรคพวกของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้านด้วยกันเอง ทั้งนี้ สาเหตุของความขัดแย้งมีที่มาจากทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องการทำงาน และการแย่งชิงตำแหน่ง ขณะที่กระบวนการและแนวทางพัฒนาของการสร้างการปรองดองสมานฉันท์หลังการเลือกผู้ใหญ่บ้านพบว่าหน่วยงานของรัฐมีบทบาทแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและสร้างความสามัคคีเป็นหลัก ด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ (1) การเยียวยาทางจิตใจด้วยการทำความเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น การใช้ทรัพยากรถิ่น และการเยียวยาคู่กับการสร้างสิ่งใหม่ร่วมกัน (2) การสานเสวนาด้วยวิธีการเล่าความจริง และ (3) การจัดการอารมณ์และความรู้สึกของคนด้วยการใช้ศาสนาและความเชื่อเป็นเครื่องมือ ทั้งนี้ แม้มีกลุ่มที่ไม่เชื่อว่าจะแก้ไขความขัดแย้งได้จริง แต่การทำให้เป็นต้นแบบและการเผยแพร่แนวทางเพื่อการศึกษาก็เป็นแนวทางเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นในพื้นที่อีก

คำสำคัญ: ความปรองดองสมานฉันท์; การเลือกผู้ใหญ่บ้าน; อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมการปกครอง. (2561). ระบบงานสถิติทะเบียนราษฎร. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php, เข้าถึงเมื่อ 19 ตุลาคม 2561.
กรองแก้ว อยู่สุข. (2537). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัมปนาท มีสวน. (2545). ความพึงพอใจของครูต่อวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ญาติของผู้สมัครผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก. (2562). สัมภาษณ์. ญาติผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ญาติของผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก. (2562). สัมภาษณ์. ญาติผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: องค์การบริหารส่วนตำบลชุมแสง ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลนิคม. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: องค์การบริหารส่วนตำบลนิคม ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนเจ้าหน้าที่ของรัฐจากที่ว่าการอำเภอสตึก. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนจากอำเภอ: ที่ว่าการอำเภอสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนเจ้าหน้าที่ตำรวจจาก สภ.ชุมแสง. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนจากตำรวจ: สถานีตำรวจภูธรชุมแสง ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนชาวบ้าน หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนราษฎรที่มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนชาวบ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลชุมแสง. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนราษฎรที่มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 6 ตำบลชุมแสง อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ตัวแทนชาวบ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลนิคม. (2562). สัมภาษณ์. ตัวแทนราษฎรที่มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 7 ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ธีรยุทธ พุ่มนวน. (2558). ความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ในการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ตำบลปางมะผ้า อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ผู้สมัครผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก. (2562). สัมภาษณ์. ผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 13 ตำบลสะแก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลนิคม. (2562). สัมภาษณ์. ผู้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน: หมู่ที่ 7 ตำบลนิคม อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์.
ศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป กรมการปกครอง. (2559). การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ในระดับพื้นที่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
อุทัย หิรัญโต. (2523). การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27