การศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพด้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรสำหรับตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร สำหรับตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลกุดหว้า ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่มีบทบาทด้านการกำหนดนโยบายการพัฒนาการท่องเที่ยวตำบลกุดหว้า เกษตรกรเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลกุดหว้า ผลการวิจัย พบว่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพไม่เพียงพอในหลายด้าน อาทิ ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวแต่ละช่วงวัย สิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวที่เหมาะสมในแหล่งท่องเที่ยว การบริหารรจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรฐานแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในตำบลกุดหว้ายังสามารถรองรับนักท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชม มีการจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเที่ยวชม โดยมีเจ้าของสวน เป็นผู้นำชมบรรยายข้อมูลความรู้ต่าง ๆ แก่นักท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยในพื้นที่แต่ละสวนมีการปลูกผักหลายชนิด มีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละกิจกรรมนักท่องเที่ยวจะได้ความรู้และประสบการณ์ที่แปลกใหม่ นอกจากนั้น ยังมีการจำหน่ายผักในสวนเพื่อเป็นของฝาก หากมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าชมแหล่งท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่องและเพิ่มจำนวนขึ้นการบริหารจัดการไม่ดีพออาจส่งผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรโดยตรง ดังนั้น การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแต่ละแห่งทราบถึง ข้อดี ข้อเสีย ของตนเองที่ต้องนำปรับปรุงเพื่อให้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรมีคุณภาพและแตกต่างจากที่อื่นหน่วยงานต่าง ๆ แนวทางการจัดแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ข้อเสนอแนะเพื่อการส่งเสริมแนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยมุ่งเน้น 1. ประชาสัมพันธ์เพื่อให้นักท่องเที่ยวรู้จักมากขึ้น 2. ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อแสวงหาแหล่งงบประมาณในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ 3. ต้องการให้มีผู้ให้ความรู้และสามารถให้คำแนะนำการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้น่าสนใจมากขึ้น และ 4. การพัฒนาความสามารถในการเข้าถึง และความสะดวกสบายรวมถึงความปลอดภัยในเส้นทางการท่องเที่ยว
Downloads
References
เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (2555). แนวคิดและหลักการเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร.กรุงเทพมหานคร: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
กัลยานี เดชประทุม (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตามมาตรฐาน
คุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร กรณีศึกษาบ้านโคกเมือง อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2559.
ขัตติยา กลัญทกะปกรณ์ ,สุธีรา สิทธิกุล ,วินิตรา ลีละพัฒนา (2563). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิง
เกษตรชุมชนเกษตรตำบลห้วยทราย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, ฉบับที่ 13 เล่ม 2.
จีรนันท์ เขิมขันธ์ (2561). มุมมองต่อการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 2561 : 36 (2), 162-167.
มณีรัตน์ สุขเกษม (2559). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 10(4), 97-112.
พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ส.เอเชีย เพรส.
Translated Thai References
Tourism Authority of Thailand (2555). Concepts and Principles of Agricultural Tourism. Bangkok: Tourism Authority of Thailand’
Kunlayanee Det prathum (2559). Increase of Development Efficiency of Agro-tourism Based on Quality Standard of Agro-tourism Sources: A Case Study of Ban Khokmuang in Prakhonchai District, Buriram Province. Academic Journal ofBuriram Rajabhat University. Vol. 8 No. 1 January - June 2016.
Khattiya K., Sutheere S., Winittra L. (2563) . Developing the Potential of Agricultural Community in Huay Sai Sub-District Maerim District Chiang Mai Province. Journal of Modern Management Scinces. Vol.13(2).
Jeeranun K. (2561). Perspectives of Agro Tourism Development in Thailand. King Mongkut's Agricultural Journal. Vol.36(2).
Maneerat S. (2559). The Guidelines of Potential Development of Agro-Tourism Tambon Dong Khilek, Muang District, Prachinburi Province. The Far eastern University Journal. Vol.10(4).
Pichet W. (2559). Introduction Qualitative Research. Vol.1