การเปรียบเทียบบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซียตั้งแต่ พ.ศ. 2535 - 2563

ผู้แต่ง

  • วันวิชิต บุญโปร่ง คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธีรพงษ์ บัวหล้า คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

บทบาททางการเมือง; กองทัพ; การเปรียบเทียบ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยชิ้นนี้  มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการบทบาททางการเมือง และปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซีย ตั้งแต่ พ.ศ.2535-2563 ด้วยวิธีการสัมภาษณ์อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศ ผลการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่า พัฒนาการบทบาททางการเมืองของกองทัพทั้งสองประเทศ ตลอดเกือบสามทศวรรษมาจากความแตกต่างรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ ทัศนคติทางสังคมที่มีต่อกองทัพ และความสัมพันธ์ของกองทัพกับประชาชนมีผลต่อการกำหนดท่าทีการตัดสินใจทางการเมือง  สิ่งที่เห็นเป็นรูปธรรมของพัฒนาการบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยคือต้นทุนทางสังคมสูงกว่าฝ่ายการเมืองถือเป็นข้ออ้างความชอบธรรมทางการเมืองเพื่อถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง และมีแนวโน้มให้กองทัพไทยยังรักษาบทบาททางการเมืองไว้ได้จนถึงปัจจุบัน  ในขณะที่กองทัพอินโดนีเซีย หลังยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต ได้ถูกปรับลดอำนาจบทบาททางการเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไป การเมืองภาคประชาชนได้ปฏิเสธการกลับไปสู่บรรยากาศกองทัพนำการเมืองเหมือนในอดีต มีผลบังคับให้กองทัพอินโดนีเซียเร่งเดินหน้าปฏิรูปองค์กรตัวเองมาอย่างต่อเนื่องตามหลักการของกองทัพอาชีพ  สำหรับปัจจัยต่อการเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกองทัพไทยและกองทัพอินโดนีเซีย ตั้งแต่  พ.ศ.2535-2563 ได้แก่ 3 ปัจจัยสำคญ คือ (1). บทบาททางการเมืองในรัฐธรรมนูญ (2).บทบาททางการเมืองในมิติด้านความมั่นคง และ(3).บทบาททางการมืองในภาคประชาชน  ซึ่งได้เอื้ออำนวยให้กองทัพไทยปรับตัวเองได้อย่างกลมกลืนกับการรักษาบทบาททางการเมืองของตนเองต่อไปได้อย่างเข้มแข็ง ในทางตรงข้ามบทบาททางการเมืองของกองทัพอินโดนีเซีย ได้ถูกจำกัดบทบาทให้เหลือเพียงหน้าที่การรักษาอธิปไตยและความมั่นคงของชาติ โดยไม่หวนคืนกลับมามีอำนาจทางการเมืองอีกต่อไป

คำสำคัญ: บทบาททางการเมือง; กองทัพ; การเปรียบเทียบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

เอกสารอ้างอิง
พิชิต รัชตพิบุลภพ. (2559). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของทหาร. วารสารสถาบัน
พระปกเกล้า. ปีที่14 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน. 101.
ไพลิน กิตติเสรีชัย. (2557). มหาอำนาจอาหาร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์
ศาสตร์. 40 (2).21.
สุจิต บุญบงการ. (2562). ทหารกับการพัฒนาการเมืองไทย. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
186-187.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2558). เสนาธิปไตย: รัฐประหารกับการเมืองไทย. สำนักพิมพ์
มติชน. 117.
อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2020). ย้อนหลังการปฏิรูปกองทัพ อินโดนีเซียนำกองทัพออก
จากการเมืองอย่างไร. (ออนไลน์) สืบค้นจาก
https://www.the101.world/evolution-of-indonesian-
army/ (เข้าถึงเมื่อ 2 December 2020)
อรอนงค์ ทิพย์พิมล. (2546). บทบาทขบวนการนักศึกษาอินโดนีเซียกับการสิ้นสุด
อำนาจของประธานาธิบดีซูฮาร์โต. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต).
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Bamrungsuk, S. (2006). Thailand’s Civil-Military Relations. Journal of
Securities Project. (9). 22-26.
Blair, D. (2013). Military Engagement: Influencing Armed Forces
Worldwide to Support Democratic Transition. Brooking
nstitution Press. Washington, D.C. 114-117.
Boonprong, W. (2000). The Thai Military Since 1957: The Transition to
Democracy and the Emerging of the Professional Soldier.
(Dissertation). Master of International Studies in the Department
of Politics, The University of Adelaide. Australia.
Butt, S. and Lindsey, T. (2012). The Constitution of Indonesia: A
Contextual Analysis. Hart Publishing Ltd. 21-22.
Haripin, M., Priamarizki, A., Marzuki, K., I. (2021). The Army and Ideology
in Indonesia: From Dwifungsi to Bela Negara. Routledge.
Taylor & Francis Group.
Huser, C., H. (2002). Argentine Civil-Military Relations: From Alfonsín to
Menem. National University Press. Washington, D.C.9.
Lane, M. (2019). Continuity and Change after Indonesia’s Reforms:
Contributions to an Ongoing Assessment. ISEAS Publish.
Singapore. 128-129.
McDonald, H. (2015). Demokrasi: Indonesia in the 21st Century.
Palgrave Macmillan. U.S.A. 67-70.
Parameswaran, P. (2015). Who will be Indonesia’s Next Military Chief?.
(Online). Retrievedfrom https://thediplomat.com/2015/06/who-
will-be-indonesias-next-military-chief/ (Accessed 2 December
2020).
Patunru, A., A. Pangestu, M., Basri, M., C. (2018). Indonesia in the New
World: Globalisation, Nationalism and Soverignty. ISEAS
Publishing. Singapore. 39.
Siddiqa, A. (2017). Military Inc. inside Pakistan’s Military Economy.
(Second Edition). Penguin Books. 43-45.
Thippimol, A. (2020). ย้อนหลังการปฏิรูปกองทัพ อินโดนีเซียนำกองทัพออกจาก
การเมืองอย่างไร. (Online) Retrieved from
https://www.the101.world/evolution-of-indonesian-
army/ (Accessed 2 December 2020)
Varol, O., O. (2012). The Military as the Guardian of Constitutional
Democracy. 50 Columbia Journal of Transnational Law
(forthcoming). Lewis & Clark School. 300.

Translated Thai References
Bamrungsuk, S. (2015). Militocracy: Military Coup and Thai Politics.
Matichon. 117.
Bunbongkarn Suchit. (2019). Thai Political Development: The Role of
Military. Kobfai Publishing Project. 186-187.
Kittiserichai, P. (2014). Food Superpower. Journal of Social Science
and Humanities. Vol.5,No.2.
Ratchatapibhunphob. P. (2016). Soldiers’ Political Participation. King
Prajadhipok’s Journal. Vol.14. No.1. 101.
Thippimol, O. (2020). Look Back on the Path of Military Reform: How
Does Indonesia get its Soldiers out of Politics?. (Online)
Retrieved from https://www.the101.world/evolution-of-
indonesian-army/ (Accessed 2 December 2020)
Thippimol O. (2003). The Role of Indonesia Student Movement and
the Fall of Soeharto. (Master of Arts). Bangkok: Thammasat
University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27