การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน : เรียนรู้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • วิระชัย ขันตี
  • สิรินดา กมลเขต

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ/ วิสาหกิจชุมชน/ บ้านโพนแพง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 3. เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง ตำบลดินจี่ อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ วิธีการวิจัยเป็นแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ผู้นำและสมาชิกกลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือสมาชิกทั้งหมดจำนวน 65 คน สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์โดยจำแนกชนิดข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกของกลุ่มมีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.3 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 55.4 ระดับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ70.8 ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มระหว่าง 16 -20 ปี คิดเป็นร้อยละ 56.9 และมีรายได้ 6,001-8,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.7 สำหรับสภาพการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด ด้านที่อยู่ในระดับดีที่สุดคือด้านการอำนวยการ  ปัจจัยการบริหารจัดการ ภาพรวมอยู่ในระดับดีที่สุด ด้านที่ดีที่สุดคือด้านการผลิตสินค้า  ส่วนปัญหาของกลุ่ม คือด้านการจัดการเครือข่าย สมาชิกลุ่มยังขาดความรู้ ทักษะต่างๆ ไม่มีการแบ่งงานกันทำที่ชัดเจน ข้อเสนอแนะ ด้านการบริหารจัดการ ควรเพิ่มด้านการควบคุม การจำหน่ายสินค้า การทำระบบรายงาน การบันทึกและการทำบัญชี ให้ชัดเจนมากขึ้น, ด้านปัจจัยการบริหาร ควรเพิ่มด้านการพึ่งพาตนเอง  ให้มีความสามัคคี ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก มีน้ำใจช่วยเหลือเกื้อกูลทั้งด้านการผลิต การจำหน่าย ต้องช่วยกันฟื้นฟู รักษา เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่, ด้านปัญหาการบริหารจัดการคือการขาดความสนใจของคนรุ่นใหม่ ควรเร่งให้มีการสืบสานความรู้ในด้านการผลิตผ้าครามให้กับคนในชุมชน หรือบุตรหลานให้มากขึ้น หรือส่งเสริมการเปิดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนรุ่นถัดไปหรือคนที่สนใจทั่วไปเข้ามาศึกษาจะทำให้ไม่สูญหาย  

 

คำสำคัญ : การบริหารจัดการ/ วิสาหกิจชุมชน/ บ้านโพนแพง

References

กัญญามน อินหว่าง และคณะ. (2550). รายงานวิจัยเรื่อง การศึกษาการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อการ พัฒนาระบบการจัดการค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุน สนับสนุนงานวิจัย.
กรมสรรพากร. (2563). วิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื้อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2563 จาก
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/community_0911 60.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.
รัตนมณี คำยศ. ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง.การบริหารจัดการกลุ่ม วิสาหกิจ ชุมชนออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านโพนแพง. 29 มิถุนายน 2563.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2545). การบริหารเมืองหลวงและการบริหารท้องถิ่น : สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่นและไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2545). การบริหาร หลักการ ทฤษฎี ประเด็นทางการศึกษาและบทวิเคราะห์ องค์การ ศึกษา ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์พิสุทธ์
วิษณุ ภู่พันธ์. (2553). ความสามารถด้านการจัดการของผู้ออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทโคมไฟ: กรณีศึกษา บริษัทไทยสแตนเลย์ จำกัด มหาชน. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
สัญญา เคนาภูมิ.(2555). หลักการและเทคนิคการเขียนงานวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. โครงการผลิตผลงานวิชาการ หลักสูตรสาขารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุกัญญา ดวงอุปมา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนใน จังหวัด กาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2 (2), 133-139.
เสรี พงศ์พิศ. (2548). ฐานคิด จากแผนแม่บทวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ : พลังปัญญา. สำนักคณะกรรมการ
พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560).
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2548) . กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการเกษตร.

Translated Thai References
Chusri Wongrattana. (2007). Techniques of using for Research Methods. 10 th ed. Nonthaburi: Taineramitkij Inter Progressive
Kanyamon Inwang et al. (2007). Research Report Networks for learning and development of Management System Khai Bang Rachan Sing Buri Province. The Thailand Research
Fund: Bangkok.
Ratamanee khamyot. The Leader of Small and Micro Community Enterprise (SMCE) Saving for Production Ban Phon Phaeng Group. Management Operations of Micro Community Enterprise (SMCE) Saving for Production Ban Phon Phaeng Group. 29 June 2020.
The Revenue Department. (2020). Community Enterprise cited 7 Aug 2020
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/user_upload/porkor/taxused/community_091 160.
Seri PhongPhit. (2005). Thinking based SMCEs Small and Micro Community Enterprises
Bangkok: Palang Panya publishers. Office of the National Economic and Social Development Council Prime Minister's Office.
Sukanya Duanguppama. (2014). The Development of Good Management Practices of the Community Enterprises in Kalasin Province. Journal of Community Development and Life Quality 2 (2), 133-139.
Sanya Kenaphoom. (2012). Public Administration Concepts and Techniques of Writing Research Article. The project of academic work productivity Public Administration
Program in Public Administration Politics and Government. Rajabhat Mahasarakham
University.
Viroj Sarattana. (2002). The Administration Strategies Development Principles Theory Issues in Education and Critic Thai educational administrators. (3 rd ed.). Bangkok: Pimpisut.
Visanu Phuphan. (2010). Management capabilities for automotive lighting designers: Case
study Thai Stanley Electric Public Company Limited. (Independent study at the
master's degree Rajamangala University of Technology Thanyaburi)
Wiruch Wiruchnipawan (2002). The capital administrations and local governments: the
United States of America, England, France, Japan and Thailand. Bangkok: Forepace
Publishing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)