คำท้ากับบทบาทของศาลเพื่อ แสวงหาความจริงในคดีแพ่ง

ผู้แต่ง

  • ภิรนา พุทธรัตน์

คำสำคัญ:

กฎหมายพยาน; คำท้า; กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

บทคัดย่อ

ภายใต้หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความ การแสวงหาความจริง (Fact-Finding) เป็นบทบาทของศาลที่สำคัญในการพิจารณาคดีทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา การทำคำท้า (Challenges) ในคดีแพ่งโดยความสมัครใจของคู่ความเป็นวิธีการสืบพยานหลักฐานที่คู่ความสามารถตกลงกันได้ เพื่อให้เกิดผลแพ้หรือชนะอันทำให้ประเด็นข้อพิพาทในคดียุติลงด้วยความสะดวก รวดเร็ว และเที่ยงธรรม สมดังเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่ทว่า การกำหนดเงื่อนไขของคู่ความในคำท้าภายใต้กฎหมายของไทยนั้น มีความเป็นอิสระอย่างมาก คู่ความอาจกำหนดให้มีเงื่อนไขใด ๆ ระหว่างกันก็ได้ตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเฉพาะการท้าสาบาน (Decisory Oath) ที่ในปัจจุบันหลายประเทศในภาคพื้นยุโรปได้ยกเลิกการทำคำท้าสาบานแล้ว เพราะเหตุว่าการท้าสาบานนั้นขัดต่อหลักการค้นหาความจริงอันเป็นบทบาทของศาลในการพิจารณาคดี การทำคำท้าที่ไม่มีขอบเขต และศาลไม่สามารถใช้ดุลพินิจในการกำหนดขอบเขตได้นั้น อาจทำให้ศาลกลายเป็นเครื่องมือของคู่ความฝ่ายชนะคำท้าแทน เพื่อป้องกันการเสียเปรียบในคดี การอนุญาตให้ท้ากันในชั้นศาล ศาลควรเข้ามามีบทบาทในการกำกับควบคุมการท้ากันของคู่ความได้ทั้งประเด็นแห่งคดีในการทำคำท้า เงื่อนไขในการทำคำท้า และผลของคำท้า อันจะทำให้คำท้าสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักการพิจารณาคดีแพ่งได้อย่างสูงสุด

คำสำคัญ: กฎหมายพยาน; คำท้า; กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

Downloads

Download data is not yet available.

References

เข็มชัย ชุติวงศ์. (2538). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 6).
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
ชวเลิศ โสภณวัต. (2524). กฎหมายลักษณะพยานของไทยเป็นกฎหมายในระบบ
กล่าวหาจริงหรือ, ดุลพาหะ. เล่ม 6. ปีที่ 28.
ธนกร วรปรัชญากุล. (ม.ป.ป.). บทบาทของผู้พิพากษาในประเทศที่ใช้ระบบประมวล
กฎหมายและประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ในการค้นหาข้อเท็จจริงใน
คดีแพ่ง. วารสารยุติธรรม, (ม.ป.ป.).
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
หนังสือรายงานคดีของศาลทั่วราชอาณาจักร, ศาลยุติธรรม จาก
www.online.flipbuilder.com/rdpv/jgco/index.html, 15 มีนาคม 2564
พัชรินทร์ เปี่ยมสมบูรณ์. (2517). การปฏิรูปกฎหมายของประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ.
2411-2478, มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์, อ้างถึงใน
คณะกรรมการจัดงานฉลองวันเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 100 ปี ในพระ
บามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กระทรวงยุติธรรม. (2511). การปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยะมหาราช.
สมชาย วิมลสุข. (2549). บทบาทของศาลชั้นต้นในการแสวงหาความจริง,
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
โสภณ รัตนากร. (2551). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 9),
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ.
วรรณชัย บุญบำรุง, ธนกร วรปรัชญากูล และสิริพัทธ์ พลรบ. (2548). หลักและทฤษฎี
กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เล่ม 2, กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.
วุฒิพงศ์ จิตอ่อนน้อม. (2555). ผลของคำท้าต่อการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งต่อ
ศาล. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Cappelletti, Mauro and Garth, Bryan G.. (1988). International
Encyclopedia of Comparative Law, Vol. XVI: Civil Procedure Ch.1 Introduction – Policies, Trends and Ideas in Civil Procedure.
R.R. Verkerk. (2010). Fact-Finding in Civil Litigation: A Comparative
Perspective, Antwerp – Oxford – Portland: Intersentia.
Merryman, John Henry and Rogelio Pérez-Perdomo. (2007). The Civil
Law Tradition: An Introduction to the Legal Systems of Europe and Latin America, (3rd edition). Stanford University Press.
French Civil Code
Translated Thai Reference
All court cases of the Kingdom Report, Court of Justice from
www.online.flipbuilder.com/rdpv/jgco/index.html, 15 March 2021
Boonbumrung, W, Thanakorn Worrapruchayakul, Siripat Ponlob. (2548).
Principles and Theories of Civil Procedure Law, volume 2.
Bangkok: Winyuchon.
Chutiwong, K. (2538). Explanation of Laws of Witness
Characteristics. (sixth edition). Bangkok: Nitibunnakarn Press.
Jiton-nom, W. (2555). Effect of the challenge on the civil trial to
the court. Master Degree’s Thesis, Law Faculty, Thammasat
University.
Peamsomboon, P. (2517). Law reform of Thailand since 1868-1935.
Social Science Textbook Project Foundation And humanities, Cited in the organizing committee of the 100th Anniversary
Celebration in His Majesty King Chulalongkorn Ministry of Justice. (2511). Reform of the legal system and court in the reign of King Chulalongkorn, you are in the head of Phra Piya the Great.
Rattanakorn, S. (2551). Explanation of Laws of Witness Characteristics.
(ninth edition), Bangkok: Nitibunnakarn Press.
Sophpnwat, C. (2524). Is the Thai witness law really the law in
the allegation system?. Dulapa.6, 28.

Wimonsuk, S. (2549). The role of the Court of First Instance in the
quest for truth?. Master Degree’s Thesis, Law department, Graduated School, Dhurakij Pundit University.
Worrapruchayakul, T. Roles of judges in code countries and common law
countries in civil case fact-finding. Justice Journal. (n.d).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27