ผลกระทบของโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ (ไทยนิยม ยั่งยืน) ต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา: อำเภอเมืองขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จุฑาวรรณ ลาจันทึก
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม

คำสำคัญ:

การจัดทำบริการสาธารณะ; โครงการไทยนิยมยั่งยืน; การปกครองท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) มีผลกระทบต่อกลไกการจัดทำบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อย่างไร งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเฉพาะกรณีศึกษาในพื้นที่เทศบาลตำบล 4 แห่ง ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานระดับอำเภอ 1 คน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แห่งละ 1 คน ผู้ใหญ่บ้านและประชาชนในพื้นที่ของแต่ละเทศบาล รวมทั้งสิ้น 20 คน ผลการวิจัย พบว่า การจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น มีความซ้ำซ้อนกับโครงการปกติที่ทางเทศบาลแต่ละแห่งได้จัดทำอยู่แล้ว และในทางปฏิบัติจริงได้พึ่งพาบุคลากรของเทศบาลเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ วัสดุและครุภัณฑ์ที่เป็นทรัพย์สินของโครงการทางเทศบาลไม่สามารถให้การบำรุงรักษาได้เนื่องจากไม่ได้เป็นทรัพย์สินของเทศบาล การมีส่วนร่วมและการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ต่อการดำเนินโครงการไม่มีความแตกต่างไปจากโครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของเทศบาล ดังนั้นจึงไม่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเทศบาล จากข้อค้นพบดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) ควรจะมีการบูรณาการหรือลดความซ้ำซ้อนกับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

คำสำคัญ: การจัดทำบริการสาธารณะ; โครงการไทยนิยมยั่งยืน; การปกครองท้องถิ่น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กิรพัฒน์ เขียนทองกุล. (2559). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นไทย ช่วง
หลังรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550-2559: การเมืองที่ไร้เสถียรภาพกับความไม่มั่นใจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1(2), 53 – 73
ไททัศน์ มาลา. (2560). 120 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย (พ.ศ.2440 – 2560)
พัฒนาการและเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ของรัฐไทย. วารสารสันติศึกษา
ปริทรรศน์ มจร 5(1), 343 - 356
ไทยรัฐออนไลน์. (2561, 5 พฤศจิกายน). สับไทยนิยมยั่งยืน แค่พีอาร์หาเสียงรัฐบาล
ลดแลกแจกแถมล่อใจ ปชช.ชี้บางโครงการไร้การสานต่อ เชื่อสุดท้ายหายไป. ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2544). 100 ปี การปกครองท้องถิ่นไทย พ.ศ. 2440-2540.
กรุงเทพมหานคร : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจ:แนวคิดและประสบการณ์จาก
เอเชีย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักบริหารการปกครองท้องที่ กรมการปกครอง. (2561). คู่มือการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ ตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน (หมู่บ้าน/ชุมชนละสองแสนบาท) สืบเมื่อ 28 สิงหาคม 2562, จาก https://www.multi.dopa.go.th
สถาบันพระปกเกล้า. (2559). การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่. ค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน
2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php/title=การบริหารงานภาครัฐแนวใหม่
Brinkerhoff, Derick W. and Azfar, Omar. (2006). Decentralization and
Communuity Empowerment Does community empowerment deepen democracy and improve Service delivery. Paper prepared for U.S. Agency for International Development Office of Democracy and Governance.
Laochankham, S. (2018). The Antecedents of Local Government
Service Delivery Under Crisis Conditions: the Case of Khon
Kaen Province, Thailand. Portland State University PDXScholar.
(1-248)
การสัมภาษณ์
ผู้นำหมู่บ้าน. (2562, 10 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
.. (2562, 16 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
.. (2562, 17 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
ผู้บริหารท้องถิ่น. (2562, 20 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
.. (2562, 26 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
.. (2562, 27 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์
ผู้บริหารระดับอำเภอ. (2562, 3 ธันวาคม). สัมภาษณ์

Translated Thai Raferences
Charoenmuang, T. (2001). 100 years of Thai Local Government 1897 –
1997. Bangkok:Torch publishing project.
King Prajadhipok’s Institute (2016). The Government Complex
Commemorating All Right Reserved. New Public Governance.
Retrieved November 5, 2019, from http://wiki.kpi.ac.th/index.php/title= New Public Governance
Khienthongkun, K. (2016). Thailand History of Decentraliization between
Constitutional B.E. 2550 – 2559 ; Instability of Thai politics and
People do Not Trust in Local Administrative Organizations (LAOs). Political Scinces and Public Administration
Journal Khon Kaen University Vol. 1 No 2 (July – December
2016). page 53 – 73
Mala,T. (2017). 120 Years of thai Local Administration (2440 – 2560 B.E.) :
Evolution and Historical Condition of Thai state. Journal of MUC Peace Studies Vol. 5 No 1 (January – April 2017). page 343–356



Office of Local Administration, Department of Provincial. (2018).
Operating manual Thai Niyom Yung Yuen Program (two hundred thousand baths per village/community) Retrieved August 28, 2019, from multi.dopa.go.th
Suwanmongkol, P. (2011). Decentralization:Concept and Experience
from Asia. Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.
Thairath Online. (2019, 5 November). Politic News. Defeated Thai Niyom
just did PR campaign to lure citizens, however some projects were not continued, believing that would be disappeared in the end. Retrieved October 5,2019, from https://www.thairath.co.th
/news/politic/
Interview
A local leaders. (2019, 10 November). Interview
.. (2019, 16 November). Interview
.. (2019, 17 November). Interview
A Local Administrative Organization Administrators. (2019, 20 November).
Interview
.. (2019, 26 November). Interview
.. (2019, 27 November). Interview

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-27