ผลกระทบต่ออาชีพหมอลำเรื่องต่อกลอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ บรรเทิงใจ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม Lecturer, College of Local Administration, Khon Kaen University

คำสำคัญ:

หมอลำเรื่องต่อกลอน, สถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ, ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

 การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นศึกษาผลกระทบต่ออาชีพหมอลำเรื่องต่อกลอนในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพื่ออธิบายสภาพของปัญหาและผลกระทบของหมอลำเรื่องต่อกลอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด เพื่ออธิบายแนวทางในการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในช่วงสถานการณ์การแพร่ของโควิด และ เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและจัดรูปแบบกิจกรรมการบันเทิงเชิงวัฒนธรรมแขนงนี้ให้สามารถสืบสานต่อไปและอยู่รอดในภาวะคุกคามที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือวิจัยจากการสำรวจ สังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึก แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจหมอลำเรื่องต่อกลอน รวมไปถึงส่วนงานราชการที่เกี่ยวข้องกับอาชีพหมอลำกลอน โดยผู้วิจัยได้แบ่งแนวคำถามในการสัมภาษณ์ออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มหัวหน้าคณะหมอลำเรื่องต่อกลอน กลุ่มที่ 2 กลุ่มศิลปินนักแสดงหมอลำ,แดนเซอร์ กลุ่มที่ 3 หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานวัฒนธรรม สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และ สำนักงานประกันสังคม ผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)   ได้ส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ ผู้ประกอบการ ประชาชน และคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนซึ่งได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างหนัก โดยที่ผลกระทบของคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนของจังหวัดขอนแก่นนั้นสามารถแบ่งผลกระทบได้ออกเป็น 3 มิติ ประกอบด้วย มิติด้านสังคม มิติด้านเศรษฐกิจ และมิติด้านอาชีพ โดยคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนมีวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์อันประกอบไปด้วย 1. การปรับรูปแบบการแสดง  2. การเปลี่ยนอาชีพ และ 3. การวางแผนด้านการเงิน โดยที่ทางภาครัฐไม่ได้เข้ามามีบทบาทและนโยบายในการช่วยเหลือเยียวยาคณะหมอลำเรื่องต่อกลอนอย่างโดยตรง   

References

อ้างอิง

พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม, และกตัญญู แก้วหานาม. (2563). แนวทางการขับเคลื่อนสํานึกความเป็นพลเมืองของประชาชนในเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการบริหารปกครอง. 9(1). 145-167.

พิศณุภงศ์ ศรีศากยวรางกูร. (2560). การสื่อสารทางการเมืองของหมอลำกลอนในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

พิศณุภงศ์ ศรีศากยวรางกูร, และอลงกรณ์ อรรคแสง. (2561). จิตวิญญาณหมอลำกลอนสู่ความเชื่อทางการเมืองของท้องถิ่นอีสาน. วารสารการเมืองการปกครอง, 8(2), 71-84.

ศิริชัย ทัพขวา. (2560). การพัฒนารูปแบบการแสดงหมอลําหมู่เชิงธุรกิจ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม

สมาน แสนสุภา. (2564). การบริหารจัดการวงหมอลำ คณะประถมบันเทิงศิลป์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 12(1), 37-49.

อุดม บัวศรี. (2528). วัฒนธรรมไทย. ขอนแก่น: ภาควิชามนุษยศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Dye Thomas R. (1982) Understanding Public Policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

การสัมภาษณ์

ธนาวุฒิ คำมี. (2564, 5 มิถุนายน). ศิลปินหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์. สัมภาษณ์.

บุญถือ หาญสุริย์. (2564, 5 มิถุนายน). หัวหน้าคณะหมอลำคณะรัตนศิลป์อินตาไทยราษฎร์.สัมภาษณ์.

พรพิมล คงตระกูล. (2564, 8 มิถุนายน). วัฒนธรรมจังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์.

พัฒนชาต ชุมทอง. (2564, 8 มิถุนายน). สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดขอนแก่น. สัมภาษณ์.

ภักดี พลล้ำ. (2564, 5 มิถุนายน). หัวหน้าคณะหมอลำระเบียบวาทศิลป์. สัมภาษณ์.

ศุภวัฒน์ หนูพริก. (2564, 10 มิถุนายน). พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดขอนแก่น.สัมภาษณ์.

สันติ สิมเสน. (2564, 5 มิถุนายน). หัวหน้าคณะหมอลำประถมบันเทิงศิลป์. สัมภาษณ์.

Translated Thai References

Buasri, U. (1985). Thai Culture. Khon Kaen: Department of Humanities. Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University.

Dye Thomas, R. (1982). Understanding Public Policy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Kaewhanam, P. and Kaewhanam, K. (2020). Guidelines for Driving Citizenship Awareness of Peoples in Kalasin Municipality, Kalasin Province. Governance Journal, 9(1). 145-167.

Saensupha, S. (2018). The Management of Thai Morlum Band “PratomBunterng Slip”. Buriram Rajabhat University, Academic Journal, 12(1), 37-49.

Srisakayarangkun, P. (2017). Political communication of Mo Lam Klon during the Thaksin Shinawatra government as Prime Minister. Mahasarakham University, Mahasarakham.

Srisakayavarangkun, P. and Akkasang, A. (2018). Soul Singer Bolted into the Political Beliefs of the Local ISAN. Journal of Politics and Governance, 8(2), 71-84.

Thap Khwao, S. (2017). The Development of Mo Lam Mu Show Model for Business. Mahasarakham University, Mahasarakham.

Interview

Chumthong, P. (2021, 8 June). Labor Protection and Welfare in Khon Kaen Province. Interview.

Harnsuriya, B. (1978, 5 June). Head of the Mo Lam, Rattanasin Intathaiyarat . Interview.

Khammee, T. (2021, 5 June). Artist Mo Lam, Rattanasin Intathaiyarat. Interview.

Kongtrakul, P. (2001, 8 June). Culture of Khon Kaen Province. Interview.

Nooprik, S. (2021, 10 June). Social Development and Human Security in Khon Kaen Province. Interview.

Pollum, P. (2021, 5 June). Interview.

Santi Simsen. (1978, 5 June). Head of Mo Lam, Pratom Bunterng Slip. Interview.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)