ผลกระทบของการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ณัฏฐ์นรี ชำกรม นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การปรับเปลี่ยน; ผลกระทบ; การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ; อาจารย์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มุ่งอธิบายเพื่ออธิบายผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่มีต่อการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 คน ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารมหาวิทยาลัย 2) อาจารย์และ 3) บุคลากรผู้รับผิดชอบด้านการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการทั้งระดับมหาวิทยาลัยและส่วนงาน              ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์โดยวิธีการค้นหาแก่นสาระและอธิบายความ ผลการวิจัยพบว่า การปรับเปลี่ยนเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการส่งผลกระทบต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขอตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน โดยสามารถอธิบายได้ดังนี้ 1) หลักเกณฑ์มีการปรับเปลี่ยนบ่อยและกะทันหัน ทำให้อาจารย์เกิดความสับสน อีกทั้งอาจารย์ไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้านเพราะคุ้นชินกับการทำงานวิจัยมากกว่า 2) มหาวิทยาลัยมีโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง มีระบบพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา มีกองทุนผลิตผลงานทางวิชาการ แต่ยังขาดกลไกส่งเสริมการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน และ 3) ผู้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการขาดแรงจูงใจในการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้าน เนื่องจากกังวลต่อหลักเกณฑ์และคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ ขาดตัวอย่างผลงานทางวิชาการเฉพาะด้านให้ศึกษา เพื่อแก้ไขประเด็นดังกล่าวมหาวิทยาลัยและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ควรส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเฉพาะด้านและสื่อสารให้ชัดเจน

References

ภาษาไทย

_______. (2561). เกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งที่คนทำงานควรรู้. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565,https://th.jobsdb.com/th-th/articles

กองทรัพยากรบุคคล. (2565). สถิติจำนวนบุคลากรประเภทวิชาการของมหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้น 22 เมษายน 2565, จาก https://hr.kku.ac.th/wphrdkku/?page_id=2167

จิตราภา กุณฑลบุตร, ฉันทนา สุรัสวดี, สุบัน บัวขาว, สุไม บิลไบ, อนันตกุล อินทรผดุง, กาญจนา จินดานิล, อุมาพร ยุวชิต, ศรุดา นิติวรการ, อะเคื้อ กุลประสูติดิลก. (2562).การศึกษาปัญหาอุปสรรคและ แนวทางการพัฒนาอาจารย์เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 1-12.

ชนิตา รักษ์พลเมือง และคณะ. (2556). การพัฒนากระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ใoสถาบันอุดมศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 26(3), 301- 321.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2561). แนวคิดการพัฒนาหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทาง วิชาการ เอกสารประกอบการสัมมนาหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดตำแหน่งทาง วิชาการ พ.ศ. 2560 สืบค้น 25 เมษายน 2565, จาก http://www.basd.mhesi.go.th/Files/เอกสารประกอบการ สัมนา_ลงเว็บ/23%20 มี.ค.61/2. แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์%2060%20(23-03-61).pdf

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2564 (2565, 7 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 139 ตอนพิเศษ 4 ง. หน้า 22-50.

ประสิทธิชัย เดชขำ. (2557). เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์. 28(85), 186–203.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2558).ประกาศคณะกรรมการบริหารงานบุคคล ประจำมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับที่ 5/2558) เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการจ้าง เงื่อนไขการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัยและลูกจ้าง มหาวิทยาลัย. 19 ธันวาคม 2558.

สมจิตร ดวงจันทร์ และคณะ. (2562). การบริหารจัดการการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(1), 13-28.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2565, จาก https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/career-path-planningrev25561209.pdf

ภาษาอังกฤษ

Herzberg, F., Mausner, B., & Snyderman, B. B. (1959). Motivation to Work. New York: John Willey and Sons.

Translated Thai References

Duangchan, S. et al. (2019). Management on the Acquisition of Academic Position in Phranakhon Rajabhat University. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 10(1), 13-28. (in Thai)

Human Resources Division.(2022).Academic Position Document of Academic Personnel, Khon Kaen University. (in Thai).

Khon Kaen University. (2015). Announcement of the Human Resources Management Committee of Khon Kaen University (No. 5/2015) Subject Criteria, Methods of Employment terms of employment University Staff and University Employees. (in Thai)

Kundalaputra, J. et al. (2019). A Study of Problems and Guidelines for Academic Staff Promotion of Phranakhon Rajabhat University.Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 10(1), 1–12. (in Thai)

Rukspollmuang, C. et al. (2013). The development of the appointment process for academic titles of Faculty members in higher education institutions.Journal of Research Methodology, 26(3), 301-321. (in Thai)

Dechkham, P. (2014). The Career Paths Of Faculty Members In Private Higher Education Institutions. Suthiparithat, 28(85), 186-203. (in Thai)

The Civil Service Commission in Higher Education. (2021). Announcement on Criteria and Procedures for Consideration of Appointment of Persons to be Assistant Professors Associate Professor and Professor. (in Thai)

Uwanno, B. (2018). Concept of developing criteria and methods for determining academic position. Document of Academic for meeting. http://www.basd.mhesi.go.th/Files/เอกสารประกอบการสัมนา_ลงเว็บ/23%20มี.ค.61/2. แนวคิดการพัฒนาเกณฑ์%2060%20(23-03-61).pdf (in Thai)

Hirunkitti, S. (1999). human resource management. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/career-path- planningrev25561209.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-06

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)