พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ประเทือง ม่วงอ่อน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การเลือกตั้ง; นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี; พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562

บทคัดย่อ

การศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี (ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564) และเพื่อศึกษาผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สรุปข้อค้นพบที่สำคัญ ดังนี้ (1) พฤติกรรมการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งวันที่ 28 มีนาคม 2564  พบว่า (1.1) ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.02 มากกว่าอัตราการออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 มีนาคม 2562 ร้อยละ 70.858 การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (อบจ.) ร้อยละ 63.027 และสูงกว่าอัตราการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีเฉลี่ยทั้งจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีจำนวนผู้มาใช้สิทธิเฉลี่ยทั้งจังหวัด ร้อยละ 70.12  (1.2) ข้อมูลเรื่องคัดค้านและสำนวนการเลือกตั้ง พบว่า มีจำนวน  24 เรื่อง  (1.3) การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี  ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ลำดับที่ 1 หมายเลข 1 นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม (กลุ่มเพื่อไทย นครอุบล) ชนะการเลือกตั้ง เหนือคู่แข่งสำคัญ คือ หมายเลข 2  นายประชา กิจตรงศิริ (กลุ่มเพื่ออุบล)  (1.4) ปัจจัยที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ได้แก่  (1.4.1) ทีมงานเครือข่ายของพรรค พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายกานต์  กัลป์ตินันท์ และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562  จังหวัดอุบลราชธานี ก็พบว่า พรรคเพื่อไทย สามารถชนะการเลือกตั้ง 7 เขต จาก 10 เขต โดยเฉพาะเขตเลือกตั้งที่ 1 ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานีเป็นเขตพื้นที่ของสามีของนางสาวพิศทยา ไชยสงคราม คือ นายวรสิทธิ์ กัลป์ตินันท์  ซึ่งเป็น ส.ส. 3 สมัย  (1.4.2) ปัจจัยส่วนบุคคล การลงพื้นที่ของผู้สมัคร พบว่า นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม (กลุ่มเพื่อไทย นครอุบล) ได้เตรียมตัวสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานีมานานแล้ว ทีมงานมีความพร้อม  (1.4.3) นโยบายของผู้สมัคร นโยบายที่มีความโดดเด่น เช่น โครงการปรับปรุงตลาดใหญ่ โครงการทำถนนเลียบแม่น้ำมูลจากถนนเลี่ยงเมืองถึงอ่างเก็บน้ำห้วยวังนอง และ  (1.4.4)  การจ่ายเงินซื้อเสียง และปัจจัยอื่นๆ (2) ผลกระทบการเลือกตั้งภายใต้พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  สรุปได้ว่าพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 ก่อให้เกิดความยุ่งยากในการลงสมัครรับเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้ง ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยเฉพาะข้อห้ามในการหาเสียง การขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ. การถูก กกต.มีคำสั่งให้ถอนชื่อ ฯลฯ  ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ  ควรลดข้อจำกัด ความยุ่งยาก ที่เป็นการกีดกันผู้สมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562  โดยเฉพาะข้อห้ามในการหาเสียง การขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ.และนายก อบจ. การถูก กกต.มีคำสั่งให้ถอนชื่อ เป็นต้น

References

ภาษาไทย

กตัญญู แก้วหานาม, พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม. (2563). ความเคลื่อนไหวและพฤติกรรมทางการเมือง ของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการเมืองการปกครอง. 10(3) ,190-205. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/248813

นางสาว พ.. ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี. สัมภาษณ์, 20 ธันวาคม 2564.

นางสาว ส.. ที่ปรึกษานายก อบจ.อุบลราชธานี. สัมภาษณ์, 1 ธันวาคม 2564.

นาย ช.. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี. สัมภาษณ์, 10 ธันวาคม 2564.

นาย ป.. ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี. สัมภาษณ์, 6 ธันวาคม 2564.

ประเทือง ม่วงอ่อน. (2563). การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ประเทือง ม่วงอ่อน. (2563).การใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560. วารสารการบริหารปกครอง. 9(1), 111-143. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/242508.

เวียงรัฐ เนติโพธิ์. (2565). อุปถัมภ์ค้ำใคร : การเลือกตั้งไทยกับประชาธิปไตยก้าวถอยหลัง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

Translated Thai References

C.. Members of the House of Representatives in Ubon Ratchathani. Interview, 10 December 2021.

P.. Candidates Mayor of Ubon Ratchathani City Municipality. Interview, 20 December 2021.

P.. Candidates Mayor of Ubon Ratchathani City Municipality. Interview, 6 December 2021.

Kaewhanam, K. ., & Kaewhanam, P. . (2020). Movement and political behavior of candidates for the House of Representatives in Kalasin province . Journal of Politics and Governance, 10(3), 190–205. Retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jopag/article/view/248813

Moung-On, P. (2020). Political movement and voting behaviors of members of Thailand's House of Representatives in Ubon Ratchathani. Bangkok : King Prajadhipok's Institute.

Moung-On, P. (2020). The Budget Spent for the Election of the MPs under the 2017 Constitution in Ubon Ratchathani. Governance Journal, 9(1), 111–143. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/242508.

S.. Advisor to the Chief Executive of the PAO (Ubon Ratchathani). Interview, 1 December 2021.

Viengrat Nethipo. 2022. Patron-Client : Electoral in Thailand and Order Era Democracy. Bangkok : Matichon Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)