การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคอำเภอ ร่วมกับหน่วยงานราชการ ส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
โควิด-19; การบูรณาการ; ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคบทคัดย่อ
การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้ประสบผลสำเร็จ จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ การวิจัยนี้มุ่งตอบคำถามที่ว่า ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอ (ศปก.อ.) ร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการดำเนินการร่วมกันอย่างไร ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวนทั้งสิ้น 26 คน โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มาจาก 4 กลุ่ม ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และกำนันในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรคระดับอำเภอร่วมกับหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาค และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ มีการสั่งการจากบนลงล่างเป็นลำดับ จาก ศบค. ไปยัง ศบค.มท., ศปก.จ, ศปก.อ., และ ศปก.ต. แต่ขาดการขับเคลื่อนของ ศปก.อ. อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง การดำเนินงานจึงเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพและทันท่วงที ปัญหาและอุปสรรคที่พบ คือ การสั่งการจากระดับบนสู่ล่าง ทำให้อำนาจการตัดสินใจกระจุกอยู่ที่ส่วนกลาง การบริหารทรัพยากรเงิน คน สิ่งของ โดยเฉพาะวัคซีน ต้องรอการอนุมัติจากส่วนกลางทั้งที่การป้องกันและเยียวยาต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ฉะนั้น การบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการที่เข้มข้นและต่อเนื่อง จะทำให้มีการขับเคลื่อนกลไกการควบคุมโรคเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนั้น การให้ส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่มีอำนาจตัดสินใจ จะทำให้การบริหารจัดการการแพร่ระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
Downloads
References
ภาษาไทย
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
กายสิทธิ์ แก้วยาศรี และบุญมา สุนทราวิรัตน์. (2563). แนวทางการดำเนินงานและผลกระทบจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (โควิด-19) จังหวัดเลย. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน,7(1), 18-34.
ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 16). (2564, 3 มกราคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 138
ชยุตม์ พันทรัพย์. (2556). การเปลี่ยนแปลงบทบาททางการเมืองของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธัญวรัตน์ แจ่มใส และสุละดา บุตรอินทร์. (2564). กลไกขับเคลื่อนการจัดการภาวะวิกฤติของการบริหารราชการไทย : กรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(3), 46-59.
นันทิดา จันทร์ศิริ. (2558). การจัดการเครือข่ายในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. Asian Journal of Arts and Culture, 15(1), 145–153.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2562). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์, 13(25), 103-117.
พีรพงษ์ แสงแก้ว และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). หลักธรรมาภิบาลกระบวนการบริหารจัดการภาครัฐ
แนวใหม่ ภายใต้สถานการณ์โควิด-19. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 304-316.
ภัทรพล จึงสมเจตไพศาล และสันติ ทวยมีฤทธิ์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(3), 490-499.
ศบค.มท. (2563). โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการควบคุมโรค (ศปก.). ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565,
จาก https://www.moicovid.com/wp-content/uploads/2020/05/
ศบค.ปค. (2563) ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) ในการบริหารจัดการในการเฝ้าระวังและ ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของฝ่ายปกครอง: กรณีศึกษา เรื่อง ทีมอาสา COVID-19 ประจำหมู่บ้าน หรือ ทีม 4 ทหารเสือ. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2565, จาก
http://report.dopa.go.th/covid19/ita_files/document/BestPractice60Kalasin.pdf
สุรชัย โชคครรชิตชัย. (2564). โควิด – 19 พบการติดเชื้อโอมิครอน ในไทย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 11(3), ง-จ.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2543). เหตุอยู่ที่ท้องถิ่น : ปัญหาการเมืองการปกครองที่ระดับชาติอันสืบเนื่องจากการปกครองท้องถิ่นที่ไม่เพียงพอ. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฮาซันอักริม ดงนะเด็ง, นัฐฐิภานิ่มเกตุ,ณัฐวดี เที่ยงธรรม, วรรณวิภา รองเดช, และวรรณธิดา รองเดช. (2564). กลไกการจัดการสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การบริหารส่วนตำบลควนปริง อำเภอเมือง
จังหวัดตรัง. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 14(3),291-308.
Translated Thai References
Division of General Communicable Diseases Department of Disease Control. (2021). Guidelines for surveillance, prevention and control of Coronavirus Disease 2019 for medical and public health personnel. Bankok: Department of Disease Control, Ministry of Public Health.
Kaewyasri, K. & Soontaraviratana, B. (2020) The Guidelines and Impact from Coronavirus Disease (Covid-19) in Loei Province. Academic Journal of Community Public Health,7(1), 18-34.
Regulation Issued Under Section 9 of The Emergency Decree on Public Administration in Emergency Situations, B.E. 2548 (2005) (No. 16). Government Gazette. No. 138.
Phansap, C. (2013). Changes of Sub-district and Village Headman’s Political Roles in Chiang Mai Province After the Incident of 19 September 2006 Coup d'état. (Master of Arts (Political Science) Chiangmai University).
Jamsai, P. & Budin, S. (2021). Machanism Driving Crisis Management of Thai Government Administration: A Case Study of Covid-19 Pandemic Situation. JOURNAL OF LOCAL GOVERNANCE AND INNOVATION, 5(3), 45-60.
Jansiri, N. (2015). Network Governance in Public Policy Processes. Asian Journal of Arts and Culture, 15(1), 145–153.
Cheawjindakarn, B. (2019). Qualitative Case Study Research Techniques. LIBERAL ARTS REVIEW, 13(25), 103-117.
Sangkaew, P. & Wongwatthanaphong, K. (2021). Good Governance with New Public Management procedure under the situation of covid 19. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(11), 303-316.
Jungsomjatpaisat, P. & Tuaymeerit, S. (2021). Development of an Operating Models of Village Health Volunteers in the Control and Prevention of Coronavirus 2019, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Health Science, 30(3), 490-499.
Center for COVID-19 Situation Administration Ministry of Interior. (2020). Structure and authority of the Center for Disease Control Operations (CDC). https://www.moicovid.com/wp-con tent/uploads/2020/05/
Center for COVID-19 Situation Administration Department of Provincial Administration. (2020). Best Practice in Management of Surveillance and Preventing the spread of COVID-19: roles and responsibilities of the provincial government office In an emergency situation, a case study at Bueng Kan Provincial Administration Office. http://report.dopa.go.th/covid19/ita_files/document/BestPractice60Kalasin.pdf
Chokkhanchidchai, S. (2020). COVID-19 in Thailand. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 11(3), ง-จ.
Laothamatas, A. (2000). Hēt yū thī thō̜ngthin: Panhā kānmư̄ang kānpokkhrō̜ng thī radap chāt ʻansư̄pnư̄ang čhāk kānpokkhrō̜ng thō̜ngthin thī mai phīangphō̜ .Bangkok: Center for Local Governance Studies Thammasat University.
Akrim, H. D., Nimpet, N., Thaitham, N., Rongdach, W., & Rongdach, W. (2021). Coping Mechanisms for the COVID-19 Pandemic of Khuan Pring Subdistrict Administrative Organization, Mueang District, Trang Province. Local Administration Journal, 14(3), 291-308.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.