การปกป้องแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยตามกฎหมาย ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงาน

ผู้แต่ง

  • นฤชิต แสนปากดี คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ธเนศ สุจารีกุล คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

สิทธิมนุษยชน; สิทธิแรงงาน; แรงงานข้ามชาติ; สหภาพแรงงาน

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบว่าแรงงานข้ามชาติได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและแรงงานหรือไม่ พบว่าแรงงานข้ามชาติได้รับความคุ้มครองโดยกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและแรงงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ชอบที่ได้รับสิทธิและเสรีภาพต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน โดยปราศจากความแตกต่างใดๆ เช่น สิทธิในชีวิต เสรีภาพ ความมั่นคง การทำงาน สภาพการทำงานที่ยุติธรรมและเหมาะสม รายได้ที่เท่าเทียมกับงาน เสรีภาพในการเดินทาง การรวมกลุ่มและสมาคมโดยสันติ การก่อตั้งและเข้าร่วมในสหภาพแรงงาน  ในปี 1990 องค์การสหประชาชาติ ได้ตกลงรับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมี 58 ประเทศภาคี สนธิสัญญานี้ ปัจจุบันเป็นสนธิสัญญาที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดในด้านสิทธิของแรงงานข้ามชาติ มากกว่าปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเพราะครอบคลุมถึงสมาชิกในครอบครัวของแรงงานข้ามชาติ และสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่ถูกกฎหมายที่จะจัดตั้งสหภาพแรงงานในประเทศผู้รับ ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามพันธกรณีของตนเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองแรงงานข้ามชาติภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศว่าสิทธิมนุษยชนและแรงงาน อย่างไรก็ดี ประเทศไทยไม่ได้เป็นภาคี อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัวซึ่งผูกพันเฉพาะรัฐภาคีสมาชิก ดังนั้น ปัญหาว่าประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ภาษาอังกฤษ

ASEAN Human Rights Declaration หรือ AHDR, http://www.asean.org/news/asean-statement-communiques/item/asean-human-rights-declaration

http://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=NORMLEXPUB:12100:0::NO:12100:P12100_INSTRUMENT_ID:312243:NO

http://www.ilo.org/dyn/normlex/en/f?p=NORMLEXPUB:12100:0::NO:12100:P12100_INSTRUMENT_ID:312243:NO

Human Rights and Development Foundation (HRDF). (Online) Available at http://hrdfoundation.org/?p=2718 (July 5, 2023)"

ILO Convention 87: Freedom of Association and Protection of the Right to Organize Convention 1948

ILO Convention 98: Right to Organize and Collective Bargaining Convention 1948

International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of Their Families (15 July 2022), https://www.ohchr.org/en/instruments-mechanisms/instruments/international-convention-protection-rights-all-migrant-workers

International Covenant on Civil and Political Rights (1966), http://www2.ohchr.org/english/law/ccpr.htm

International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (1966), http://www2.ohchr.org/english/law/cescr.htm

Kwanchiwan Buadang. (2008). Health of Migrant Workers and Access to Public Health Services. Journal of Social Sciences, Volume 20, Issue 1, page 166.

Morakot Mayer and et al. (2019). Development of the Cross-Border Labor Policy of Malaysia and Current Issues from the Perspective of Labor. Journal of Humanities and Social Sciences, Volume 10, Special Edition, July - December, page 177.

Suthasana Yimyam, Sujitra Tiansawat, and Sujitra Chaiwut. (2011). Gender-based Violence and Domestic Violence against Women in the Workplace. Journal of Nursing Council, Volume 26, Issue 1, January - March, page 63.

Trade union action to promote fair recruitment for migrant worker. (Online) Retrieved from : https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---ed_protect/---protrav/---migrant/documents/briefingnote/wcms_740198.pdf (15 November 2022)

Universal Declaration of Human Rights (1948), https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-rights

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-15