การศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความผ่าน กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้าง อาคารที่ทำการศาลฎีกา
คำสำคัญ:
นโยบายสาธารณะแนวการตีความ; ประดิษฐกรรมนโยบาย; สัญวิทยา; วาทกรรม, สถาปัตยกรรม; การเมืองบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการศึกษานโยบายสาธารณะแนวการตีความผ่านกรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา โดยมีขั้นตอนการศึกษา ดังต่อไปนี้ 1) ศึกษาข้อมูลขั้นทุติยภูมิ โดยการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง 2) ศึกษาข้อมูลขั้นปฐมภูมิ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยวิธีการสังเกตการณ์อาคารสถาปัตยกรรมและบริบทที่เกี่ยวข้อง 3) รวบรวมข้อมูลที่เก็บมาได้ โดยแบ่งแยกประเภท จัดระบบ และรูปแบบของข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ 4) ศึกษาวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล ค้นหาและตีความสัญลักษณ์ นัยยะ สรุปความหมายที่พบตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่กำหนดไว้ และศึกษาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ข้อค้นพบกับแนวคิดอุดมการณ์ทางการเมือง และ 5) สรุปผลการวิจัย ตอบคำถามการวิจัย และนำเสนอผลงาน ผลการศึกษา พบว่า จากการศึกษาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะแนวการตีความ กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนา กรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา พบว่า ความหมายโดยนัยของนโยบายแสดงให้เห็นถึงเจตนาแฝงที่มุ่งหวังถ่ายทอดวาทกรรมของรัฐซึ่งถูกอำพรางไว้ในประดิษฐกรรมนโยบาย เพื่อโน้มน้าวค่านิยมและความเชื่อต่าง ๆ ของผู้คนในสังคม สร้างฉากทัศน์ให้อำนาจตุลาการใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์มากกว่าประชาชน ผลักดันให้สถาบันพระมหากษัตริย์กลายเป็นแหล่งที่มาของความชอบธรรมเชิงอำนาจของรัฐในระบอบประชาธิปไตย ประกอบสร้างและส่งผ่านมายาคติอัตลักษณ์ไทยและอุดมการณ์แบบราชาชาตินิยม ต้องการที่จะลบล้างความเป็นพหุวัฒนธรรมออกจากพื้นที่ สร้างดุลยภาพความสัมพันธ์เชิงอำนาจและทัศนคติร่วมที่รัฐต้องการ อนึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาคารที่ทำการศาลฎีกาในฐานะประดิษฐกรรมนโยบายกับอุดมการณ์ทางการเมือง พบว่า อาคารที่ทำการศาลฎีกาเป็นสารทางอุดมการณ์ของรัฐ ทำหน้าที่ถ่ายทอดวาทกรรมและประกอบสร้างมายาคติเพื่อตรึงความหมายของวาทกรรมของรัฐ อาคารที่ทำการศาลฎีกาจึงมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องและสนับสนุนแนวคิดสถาปัตยกรรมกับการถ่ายทอดอุดมการณ์ทางการเมือง บริบทของกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นในช่วยส่งเสริมวาทกรรมแนวคิดอนุรักษ์นิยมแบบราชาชาตินิยมผ่านระบบความหมายเชิงสัญลักษณ์ในองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม ส่งผลโน้มน้าวและผลักดันการสร้างทัศนคติร่วมในสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่รัฐต้องการ รัฐสามารถใช้สถาปัตยกรรมในการถ่ายทอดวาทกรรม ชุดความคิด รวมไปถึงอุดมการณ์ต่าง ๆ ไปสู่ประชาชนได้ง่าย ธรรมชาติของสถาปัตยกรรมมีลักษณะเป็นวัตถุ สามารถผลิตซ้ำ เน้นย้ำได้ง่ายส่งผลให้วาทกรรม ชุดความคิดหรืออุดมการณ์นั้น ๆ สามารถประกอบสร้างเป็นมายาคติครอบงำประชาชนได้ง่ายเช่นเดียวกัน
Downloads
References
ภาษาไทย
กระทรวงมหาดไทย. (2519) . สภาพเมื่อแรกสถาปนากระทรวงมหาดไทย พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงมหาดไทย.
กระทรวงยุติธรรม. (2559ข). รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดรูปแบบการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารที่ทำการศาลฎีกา ครั้งที่ 6/2530 วันที่ 13 สิงหาคม 2530. หนังสือกระทรวงยุติธรรม ที่ ยธ 0203/5683 ลงวันที่ 9 มีนาคม 2530.
กาญจนา แก้วเทพ. (2543). มองสื่อใหม่ มองสังคมใหม่. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรส โพรดักส์.
_______ . (2547). การวิเคราะห์สื่อแนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ.
กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2555). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดการพิมพ์.
ชาตรี ประกิตนนทการ. (2546). จาก สยามเก่า สู่ ไทยใหม่: ความหมายทางสังคมและการเมืองในงานสถาปัตยกรรม พ.ศ.2394-2500 [วิทยานิพนธ์]. จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
_______. (2550). การเมืองและสังคมในศิลปะสถาปัตยกรรม. กรุงเทพ: มติชน.
_______. (2552). ศิลปะ สถาปัตยกรรมคณะราษฎร. กรุงเทพ: มติชน.
ชุติเดช เมธีชุติกุล. (2563). “ทฤษฎีการตีความ: ขนบธรรมเนียม เรื่องเล่า และอิทธิพลความเชื่อในกิจการสาธารณะ” ใน วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประสาศาสนศาสตร์ ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2563), หน้า 253-278.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2540). การบริหารรัฐกิจเปรียบเทียบ : บทสำรวจพรมแดนแห่งความรู้แนววิพากษ์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
_______. (2545). สัญวิทยา โครงสร้างนิยม หลังโครงสร้างนิยมกับการศึกษารัฐศาสตร์.กรุงเทพฯ: วิภาษา.
_______. (2558). อัตวิสัย/วัตถุวิสัยในสังคมศาสตร์/มนุษยศาสตร์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เถกิง พัฒโนภาษ. (2551). “สัญศาสตร์ กับ ภาพแทนความ” ในวารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉบับที่ 1 พ.ศ.2551, หน้า 35-50.
นพพร ประชากุล. (2547). มายาคติ:สรรนิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Barthes.กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
นรภัทร เข็มทอง. (2566). นโยบายสาธารณะแนวการตีความ : กรณีศึกษา นโยบายอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ในโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลฎีกา [วิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2538). ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรียน และอนุสาวรีย์ ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ, และรูปแบบการจิตสำนึก. กรุงเทพฯ : มติชน.
ประโยชน์ ส่งกลิ่น. (2561).นโยบายสาธารณะแนวการตีความ (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.
ปริญญ์ เจียรมณีโชติชัย. (2558). “ผังเมืองเฉพาะกับการอนุรักษ์เมืองประวัติศาสตร์:กรณีศึกษามหานครปารีสและลอนดอนสำหรับการอนุรักษ์พื้นที่กรุงรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร” ในวารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 12 พ.ศ.2558, หน้า 83-104.
เรืองสิทธิ์ ตันกาญจนานุรักษ์. (2562). “บทสัมภาษณ์ รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี เรื่องอาคารศาลฎีกาหลังใหม่” ในจุลสารศาลฎีกา ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), หน้า 11-13.
มนัสพงษ์ สงวนวุฒิโรจนา. (2556). คติ และ สัญลักษณ์ ในการออกแบบสถาปัตยกรรมของสัปปายะสภาสถาน [วิทยานิพนธ์]. จุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
สายชล สัตยานุรักษ์. (2554). “การต่อสู้บนพื้นที่ความทรงจำของคนหลากหลายชาติพันธุ์ในประเทศไทย” ในวารสารหน้าจั่ว ฉบับที่ 8 พ.ศ.2554, หน้า 76-103.
สายพิณ แก้วงามประเสริฐ. (2537). ภาพลักษณ์ท้าวสุรนารีในประวัติศาสตร์ไทย [วิทยานิพนธ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (2559ก). รายงานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลัก ครั้งที่ 9/2529 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2529. หนังสือกระทรวงวิทยาศาสตร์ ที่ วท 0503/กนผ.1761 ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2529
อิทธิเทพสรรค์ กฤดากร, หม่อมเจ้า. (2539). เรื่องเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม/บทนิพนธ์โดยหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร. กรุงเทพมหานคร : สมาคมสถาปนิกสยาม.
PrachataiTV.(2556, 21 มกราคม). ทุบ (ตึก) ศาลฎีกา ลบประวัติศาสตร์ชาติไทย, ตอนที่ 1. สืบค้นจาก https://www.youtube.com/watch?v=RKbYwjSzIM0
Translated References
Ministry of Interior. (1976). State when the Ministry of Interior was first established. Krom Phraya Damrong Rajanubhab Bangkok: Ministry of Interior.
Ministry of Justice. (2016b). Minutes of the Committee on Consideration and Determination of Construction or Renovation of the Office of the Supreme Court No. 6/2530 dated August 13, 1987. Letter of the Ministry of Justice No. Yor Thor 0203/5683 dated March 9, 1987.
Kanjana Kaewthep. (2000). Looking at new media, looking at new society. Bangkok: Edison Press Products.
_______. (2004). Conceptual and Technical Media Analysis. Bangkok: Love and Liv.
Kanchana Kaewthep and others. (2012). Old media - new media: Signs, Identity, Ideology. Bangkok: Printing Limited Partnership.
Chatri Prakit Nonthakan (2003). From Old Siam to New Thai: Social and Political Meanings in Architecture. 1851-1957 [thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok.
_______. (2007). Politics and society in art and architecture. Bangkok: Matichon.
_______. (2009). Arts and Architecture of the People's Party. Bangkok: Matichon.
Chutidej Methichutikul. (2020). “Theory of Interpretation: Traditions, Stories and Beliefs in Public Affairs” in Journal of Political Science and Public Administration, Vol. 11, No. 2 (July-December 2020), page 253- 278.
Chaiyarat Charoensin Oran (1997). Comparative Public Administration: A Survey of the Frontiers of Critical Knowledge. 2nd edition. Bangkok: Thammasat University Printing House.
_______. (2002). Semiotics, Structuralism. After Structuralism and Political Science Education. Bangkok: Vilanga.
_______. (2015). Subjective/Objective in Social Sciences/Humanities. Bangkok: Thammasat University Press.
Takerng Pattanophas. (2008). “Semiotics and Visual Representation” in the Academic Journal of the Faculty of Architecture. Chulalongkorn University, Issue 1, 2008, pages 35-50.
Nopporn Prachakun. (2004). Myths: Collections of Mythologies by Roland Barthes. Bangkok: Torch Publishing Project.
Noraphat Khemtong. (2023). Interpretation of public policy: a case study of the conservation and development policy of Rattanakosin in the construction of the Supreme Court building project. [thesis]. Mahasarakham University, Mahasarakham
Nithi Eawsriwong (1995). Chat Thai, Muang Thai, textbooks and monuments. On culture, state, and form of consciousness. Bangkok: Matichon.
Praya Smelly. (2018). Interpretation of public policy. (2nd edition). Maha Sarakham: Apichat Printing.
Prinn Chiaramanee Chotchai (2015). “Specific Town Planning and Historical City Conservation: A Case Study of Paris and London for the Conservation of the Rattanakosin Area. Bangkok" in the 12th issue of the journal, 2015, pp. 83-104.
Ruangsit Tankanchananurak. (2019). “Interview with Assoc. Prof. Dr. Pinyo Suwankhiri on the new Supreme Court building” in the Supreme Court Booklet, Year 6, No. 1 (Jan.-Mar. 2019), pp. 11-13.
Manaspong Sanguanwutrotjana (2013). Concepts and Symbols in Architectural Design of Sappayasapasathan. [thesis]. Chulalongkorn University, Bangkok.
Saichon Sattayanurak (2011). “The Struggle in the Memory of Multi-Ethnic People in Thailand” in the 8th edition of the Nam Chua Journal, 2011, pp. 76-103.
Saipin Kaewngamprasert (1994). The image of Thao Suranaree in Thai history. [thesis]. Thammasat University, Bangkok.
Office of the National Environment Board (2016a). Minutes of the meeting of the committee considering workplaces of government agencies in Bangkok and main cities No. 9/2529 dated 25 November 1986. Ministry of Science book No. 0503/KorPor .1761, dated 22 December 1986.
Itthithepsan Kridakorn, Mom. (1996). About architecture/Thesis by Prince Itthithepsan Kridakorn. Bangkok: Association of Siamese Architects.
PrachataiTV.(2013, January 21). Smash (building) Supreme Court, Erase Thai History, Part 1. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=RKbYwjSzIM0.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.