แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อสร้างความสมดุลทางการเมือง

ผู้แต่ง

  • จเร พันธุ์เปรื่อง สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • วาทิน หนูเกื้อ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/gjl.2025.1

คำสำคัญ:

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ, ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (2) ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการได้มาซึ่งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ทำให้เกิดความไม่สมดุลทางการเมือง และ (3) หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อสร้างความสมดุลทางการเมือง ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร เช่นรายงานการประชุมรัฐสภา และเอกสารวิชาการของไทยและต่างประเทศ ที่เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของไทยเปรียบเทียบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายพื้นฐานของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น จากการศึกษาวิจัยพบว่า รัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แก้ไขเพิ่มเติมได้ยากกว่ารัฐธรรมนูญของไทยในอดีต ส่งผลให้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้รับการแก้ไข จนทำให้เกิดความไม่สมดุลทางการเมือง ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส กฎหมายพื้นฐานแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และรัฐธรรมนูญแห่งญี่ปุ่น ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมให้กระทำได้ยากกว่าการแกไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของไทย แต่การดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของทั้งสามประเทศได้คำนึงถึงความสมดุลทางการเมืองเป็นสำคัญ จึงได้นำวิธีการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการศึกษา เพื่อสร้างความสมดุลทางการเมืองโดยการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560  ซึ่งจะสำเร็จได้ รัฐสภาและประชาชนต้องมีความเห็นตรงกันว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมนั้นมีหลักการและเหตุผลที่ความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม และมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสมดุลทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ มากกว่าประโยชน์ของพรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา จึงได้เสนอแนวทางที่จะทำให้พรรคการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และประชาชน มีความเห็นไปในแนวทางเดียวกันได้ ต้องมีคณะบุคคลที่เป็นกลางทางการเมือง มีความรู้และความเชี่ยวชาญในทางกฎหมายมหาชน รัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งรัฐสภาตั้งเป็นคณะกรรมาธิการ หรือคณะรัฐมนตรีตั้งเป็นคณะกรรมการ เพื่อทำการพิจารณา ศึกษา รับฟังความคิดเห็นและจัดทำประชาพิจารณ์ เพื่อสรุปประเด็นที่จำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม จัดทำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและเสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้สถาบันทางการเมืองและองค์กรตามรัฐธรรมนูญมีความทันสมัยและสมดุลมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2561). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). วิญญูชน.

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ. (2562). ความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2553). กระบวนการที่นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดของประเทศฝรั่งเศส. http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=1429.

ปิยบุตร แสงกนกกุล. (2560). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: การก่อตั้งรัฐธรรมนูญและการแก้รัฐธรรมนูญ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2558. (2558, 15 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 132 ตอนที่ 64 ก, 1–7).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2559. (2559, 22 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนที่ 25 ก, 1–4.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2560. (2560, 15 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 6 ก, 1–2).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557. (2557, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 55 ก, 1–17).

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2539. (2539, 22 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 113 ตอนที่ 53 ก. 1- 14.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. 1- 90.

ศรศวัส มลสุวรรณ. (2563). พัฒนาการเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของประเทศไทย [วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ศาลรัฐธรรมนูญ. (2564). คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564. https://www.constitutionalcourt.or.th/occ_web/ewt_dl_link.php?nid=12631.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). รายงานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อรรยา ตั้งรัตนโชติกุล. (2564). ญี่ปุ่น มองรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยถูกแก้: ทำไมรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นถึงมีอายุยาวนาน. https://www.the101.world/constitution-of-japan.

Conseil Constitutionnel. (2009). Constitution of October 4, 1958. https://www.conseil-constitutionnel.fr/sites/default/files/as/root/bank_mm/anglais/constiution_anglais_oct2009.pdf.

Federal Ministry of Justice and the Federal Office of Justice. (2025). Basic Law for the Federal Republic of Germany. https://www.gesetze-im-internet.de/englisch_gg/englisch_gg.pdf.

Gunlicks, A. B. (2003). The Länder and German Federalism. Manchester University Press.

McElwain, K. M., & Winkler, C. G. (2015). What’s Unique About the Japanese Constitution? A Comparative and Historical Analysis. The Journal of Japanese Studies, 41(2), 249–280. https://doi.org/10.1525/jjs.2015.41.2.249.

Nippon Communications Foundation. (2013). Road Ahead for Amending the Constitution. https://www.nippon.com/en/features/h00032.

Prime Minister of Japan and His Cabinet. (n.d.). The Constitution of Japan. https://japan.kantei.go.jp/constitution_and_government_of_japan/constitution_e.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-05-14

How to Cite

พันธุ์เปรื่อง จ., & หนูเกื้อ ว. (2025). แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อสร้างความสมดุลทางการเมือง. วารสารการบริหารปกครอง มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 14(1), 1–17. https://doi.org/10.14456/gjl.2025.1