แนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
ศูนย์เรียนรู้ชุมชน, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ผู้สูงอายุ, Community Learning Center, Lifelong Learning, the Elderlyบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) ศึกษาสภาพการรับความรู้และข้อมูล ข่าวสารของผู้สูงอายุในปัจจุบัน 2) ศึกษาความต้องการทางด้านความรู้ ข้อมูลข่าวสาร วิธีการที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารต่อเนื่องตลอดชีวิต 3) ศึกษา ความเห็นของผู้นำชุมชนและบุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อแนวทางที่จะช่วยให้ ผู้สูงอายุได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารหรือได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ 4) นำเสนอ แนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย บุคคล 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้นำชุมชน และกลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้เชี่ยวชาญ สุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 4 ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการรับ ความรู้และข้อมูลข่าวสารของผู้สูงอายุในปัจจุบัน ส่วนมากผู้สูงอายุได้รับความรู้ทางด้าน การส่งเสริมสุขภาพ ผู้สูงอายุส่วนมากมีปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ผู้สูงอายุส่วนมากรับข่าวสารทุกวัน โดยจะรับข่าวสารในช่วงเวลาที่บุตรหลานกลับมาถึง บ้าน 2) วิธีการที่จะทำให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสาร ผู้สูงอายุส่วนมาก ต้องการได้รับข้อมูลความรู้ และข่าวสารประเภททั่วไป ผ่านช่องทางการสื่อสารชนิด หลัก และต้องการข้อมูลความรู้ และข่าวสารประเภทเฉพาะเจาะจงผ่านช่องทางการ สื่อสาร จากผู้มีความรู้เชี่ยวชาญ หอกระจายข่าว จากบุคคลใกล้ชิด 3) วิธีการที่จะทำให้ ผู้สูงอายุได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารต่อเนื่องตลอดชีวิตใน 4 ชุมชนมีวิธีการที่ แตกต่างกันโดย ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ มีวิธีการที่ดีที่สุด และ 4) แนวทางการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับ ผู้สูงอายุต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยการมีส่วนร่วมกันของฝ่ายต่างๆ อย่างน้อยของ3ฝ่าย คือ ชมรมผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ชุมชน และ หน่วยงานสนับสนุน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้ประสบความสำเร็จThis research aims to study the situations regarding 1) the elderly’ s access to knowledge and information, 2) their needs of knowledge and information for lifelong learning, 3) perceptions of community leaders and personnel in terms of ways to help the elderly to access to knowledge and information or lifelong learning, and 4) propose guidelines to establish community learning center for the elderly’s lifelong learning. This study was qualitative research. There were three groups including the elderly, the community leaders, and the personnel or experts. Purposive sampling was employed from four communities. The results reveal that firstly, the elderly mostly receive the healthcare promotion knowledge; yet, they had difficulties accessing the Internet. They received news every day when their children returned home. Secondly, the elderly would like to receive general knowledge and information from main media whereas specific information should be communicated via experts, broadcasting tower, and close people. Thirdly, among 4 communities, Choeng Doi Sub- district, Doi Saket District, Chiang Mai province had the best way to promote knowledge and information for the elderly. Lastly, to establish community learning center for the elderly required the engagement of at least three parties including the elderly club, local district administration, and supportive unit, which were key success factors.