The Pilot Study : Suitability of Non Communicable Diseases Policy Instruments to Lifestyle and Food Consumption Behavior of Population in Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • ษิตาพร สุริยา สาขานโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

เครื่องมือทางนโยบาย, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, พฤติกรรมการบริโภค, Policy instruments, NCDs, Consumption behavior

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ พฤติกรรมการบริโภคดีของประชากรในจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงาน ตามนโยบายด้านโรค NCDs ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขใน จังหวัดนนทบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความเหมาะสมของเครื่องมือทางนโยบายด้านโรค NCDs ต่อวิถีชีวิตและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรในจังหวัดนนทบุรี ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถาม 400 ชุด เพื่อศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านแรง ขับ และปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีอิทธิพลต่อการเกิด พฤติกรรมการบริโภคที่ดีในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบ สนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ยังไม่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs 8 คน และการ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่มีอาการเจ็บป่วยด้วยโรค NCDs และเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลรัฐในจังหวัดนนทบุรี 5 คน และเจ้าหน้าที่ทางด้านสาธารณสุขที่ เกี่ยวข้อง 6 คน เพื่อศึกษาปัจจัยด้านแรงขับและปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายด้าน โรค NCDs ในเชิงรายละเอียดที่ลึกขึ้น ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุเท่านั้นที่มีความสัมพันธ์ต่อการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรค NCDs นอกจากนี้ ปัจจัยด้านแรงขับทางด้านสภาพเศรษฐกิจ และลักษณะการประกอบอาชีพ และปัจจัยด้านเครื่องมือทางนโยบายโรค NCDs ทางด้านการส่งเสริมให้มีแหล่งอาหาร ที่ดีในชุมชนส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ดีอยู่ในระดับที่ค่อนข้างไม่ดี ในส่วนของ ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การดำเนินนโยบายด้านโรค NCDs ของจังหวัดนนทบุรี นั้นมีเพียงแค่วัตถุประสงค์ของนโยบายเท่านั้นที่ชัดเจน แต่ยังขาดความสมบูรณ์หรือ ความพร้อมทั้งทางด้านงบประมาณ บุคลากร ความเข้าใจที่ตรงกันของเจ้าหน้าที่ การ บังคับใช้กฎหมายที่มีมาตรฐานเดียวกัน รวมไปถึงสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และ ลักษณะสภาพความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนไปจากสังคมเกษตรกรรมไปสู่สังคมเมือง เหล่านี้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องมือทางนโยบายด้านโรค NCDs ที่ใช้อยู่ไม่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลเท่าที่ควร

 

The research purposes are 1) To study about factors that affect to the good food consumption behavior of population in Nonthaburi province 2) To study the operation in NCDs health policy of the Nonthaburi public health officer and 3) To study the suitability of policy instruments for NCDs to lifestyle and food consumption behavior of population in Nonthaburi province. Methodology of this research used mixed method research. In the part of quantitative research used collecting data by questionnaire for the sample group 400 persons to holistic studying about personal factors, driving factors and NCDs policy instruments factors that affect to the good food consumption behavior. In the part of qualitative research used collecting data by focus group discussion in the sample group who are not NCDs illness people 8 persons and collecting data by in-depth interview in the sample group who are NCDs illness people that admitted at public hospitals in Nonthaburi province 5 persons and Nonthaburi public health officer 6 persons to in-depth detailed study about driving factors and NCDs policy instruments factors. The result showed that there is only age factor that has correlation to avoidance NCDs risk behaviors. And economic factor, occupational factor and supporting in good quality food providing for community factor are affect to the good food consumption behavior in quite not good level. Moreover, the result of qualitative research showed that the operation in NCDs health policy in Nonthaburi province has only clarity of policy purposes but lack of budget, human resources, clarity of communication and standard in enforcement activities, these are causes of ineffectiveness in using NCDs policy instruments.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads