ระดับความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมระหว่างเรียนสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความสำเร็จ, การมีส่วนร่วม, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, Achievement, Participation, Majore in Public Administrationบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความสำเร็จในการมีส่วน ร่วมของนักศึกษาต่อการจัดกิจกรรมระหว่างเรียนจำแนกตามเพศ ชั้นปี และ สาขาวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสน ศาสตร์ ชั้นปีที่ 1-4 ของคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ บรรยายเชิงพรรณา นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพเพื่อเพิ่มเติมข้อมูลอีก ด้วย ผลการศึกษาพบว่าระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัด กิจกรรม โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมาก ไปน้อย พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก จำนวน 6 ข้อ คือ ด้านการดำเนิน กิจกรรม ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน ด้านการมีส่วนร่วมในการวิจัย ด้านการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ด้านการมีส่วนร่วมในการบริการ วิชาการ และด้านการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แต่มีข้อสังเกตอยู่ ด้านการมีส่วนร่วมในการบริการวิชาการและด้านการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม ที่ค่าเฉลี่ยน้อยกว่าด้านอื่นๆ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2 ยังไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการบริการวิชาการ ส่วน ด้านการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อาจจะเคยเข้าร่วมบ้าง กับทาง มหาวิทยาลัย แต่ไม่มีส่วนร่วมในการวางแผนThis research aims to study the process of performing a whilelearning activity of students majoring in Public Administration, Faculty of Political Science and Law, Kalasin University, based on their genders, classes, and fields of study. Samples were 128 first- to- fourth- year students majoring in Public Administration, Faculty of Political Science and Law, Kalasin Rajabhat University. The instrument was a rating scale questionnaire. The data were analyzed with percentage, mean, and standard deviation, as well as were presented descriptively. The results indicated that overall, the students’ opinions upon the process of organizing an activity were at the very good level. When considering each aspect, it was found that the students’ opinions on six aspects were at the very good level. Being sorted by the highest average to the lowest, the six aspects included conducting an activity, participating in instructional management, participating in research, participating in organizing a student development activity, participating in academic services, and participating in preservation of arts and culture.