การพัฒนาศักยภาพการพึ่งตนเองในระดับหมู่บ้าน A Study of Potential in Self-Reliance Development at the Village Level

ผู้แต่ง

  • ศิริ ฮามสุโพธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

ในการที่หมู่บ้านจะพึ่งตนเองได้นอกจากจะทำให้สามารถปรับตัวและรักษาความ สมดุลระหว่างภายในชุนกับกระแสโลกาภิวัตน์ได้แล้ว ยังเป็นการแก้ไขภาวะเศรษฐกิจ ที่เผชิญอยู่ในปัจจุบันได้ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการวิจัยพัฒนาศักยภาพการ พึ่งตนเองในระดับหมู่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดการพึ่งตนเองประเมิน ศักยภาพการพึ่งตนเอง หากลยุทธ์หรือแนวทางเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพการ พึ่งตนเองและเพื่อพัฒนานโยบายการพึ่งตนเองในระดับหมู่บ้าน ซึ่งหน่วยงานในการ วิจัยในครั้งนี้เป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ เลย และหนองบัวลำภู จำนวน 40 หมู่บ้านๆ ละ 30 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้น 1,200 ครัวเรือน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือน หรือตัวแทน และการประชุม กลุ่มระดมสมองของผู้เชี่ยวชาญด้วยไฟเทคนิค และศึกษาเฉพาะกรณี วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์ปัจจัย และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า หมู่บ้านจะพึ่งตนเองได้นั้นจะต้องประกอบด้วยตัวชี้วัด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีหรือเครื่องมือในการประกอบอาชีพ ด้านเศรษฐกิจ ด้าน ทรัพยากร ด้านจิตใจ และด้านสังคมวัฒนธรรม ซึ่งศักยภาพในการพึ่งตนเองทั้ง 5 ด้านของหมู่บ้านที่เป็นตัวอย่างในครั้งนี้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้าน แรงงาน ภาวะผู้นำ การมีจิตสำนึกของความเป็นสมาชิกของหมู่บ้านหรือชุมชน การ รวมกลุ่มหรือสร้างเครือข่าย ทุนทางสังคมในหมู่บ้าน การเรียนรู้ร่วมกันของประชาชน ในหมู่บ้าน ศักยภาพของหมู่บ้านในการจัดการและพัฒนาตนเอง และการมีวิสัยทัศน์ ร่วมกันของคนในหมู่บ้าน

ในการวิจัยครั้งนี้ ได้เสนอให้มีนโยบายการพัฒนาศักยภาพ การพึ่งตนเองใน ระดับหมู่บ้าน นโยบายนี้เมื่อนำไปปฏิบัติจะต้องผ่านกลยุทธ์ที่ประกอบด้วย การปฏิรูป ระบบบริหาร โดยมีการปฏิรูประบบราชการของกระทรวง ทบวง กรม เพื่อให้เอื้อต่อ การพัฒนาและบริการประชาชน และการพัฒนาศักยภาพด้านความพร้อมของ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน และประชาชน ซึ่งทั้ง 2 ด้าน จำเป็นจะต้องทำควบคู่กันไป

 

Self-reliance village can evolve to the necessary adjustment and the required balance between localization and globalization. Therefore, promoting self- reliance at the village level is considered to be one of the viable strategies to alleviate, if not totally solve, the economic crisis that Thailand is facing. For this reason, the researcher pursues this topic with several objectives. Methodologically, this research develops a set of indicators for actual assessment of the degrees of self-reliance in the sampled village. Strategically, this study seeks to promote and formulate the policy on self-reliance at the village level. Therefore, the main unit of analysis is this research is village level.

Forty villages were randomly selected from the provinces of Khon Kaen, Chaiya Phum, Loei and Nongbua Lamphu. Within each selected village, 30 families were also randomly selected, which made up a total of 1,200 families to be interviewed. The main data collection instrument used in this research was a set of questionnaires to be used in the interviewers head of family of or his (her) representative. Data were also collected though group process technique, mainly the Delphi Technique. As a result, both quantitative and qualitative data were collected and analyzed. Quantitative data were analyzed by various statistical techniques such as percentile, mean cores, standard deviation, factor analysis and multiple regression. To enrich the findings of the research, qualitative data were analyzed by content analysis; and the results were brought into the attention of development experts for interpretation and confirmation.

This study found that 5 elements, namely, technology or production tool, economy, resources, mentality and socio-cultural, formed the core of measurement scale for assessing the level of selfreliance. The potentiality of self-reliance among the sampled village in this study was quite low. The factors related to this low level of selfreliance were; lack of skilled and young labours forces in the studies village, visible community leadership, low sense of belonging to the village inability to form a networks of capital pool in the village, weak conducive of mutual learning environment for members of each village low potentiality of self management and village development, and lack of shared vision of people in the village. This study recommends that a policy aiming of potential development for self reliance at the village level be declared by the government. This policy contains two strategies: structural reformation of administrative system, to enable all ministries and the departments to improve development function and services to people; and potential development of administrators, officers, community leaders and members of all village. These two strategies have to be implemented in tandem.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-06-30