กระบวนการสร้างประชาธิปไตยผ่านการปฏิรูปกองทัพและการสร้างความปรองดองใน ประเทศอินโดนีเซีย Democratization by Military Reform and Reconciliation in Indonesia

ผู้แต่ง

  • ศิวัช ศรีโภคางกุล วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย, การปฏิรูปกองทัพ, อินโดนีเซีย, Democratization, Military Reform, Indonesia

บทคัดย่อ

Previously, when Indonesia was in the regime of former president, Suharto (1967-1998), human rights violation in this country was the highest rank in around the world. The army named Armed Forces of the Republic of Indonesia (ABRI) has played significant role as mechanism to kill and suppress Indonesian civilians. The author argues that after Suharto regime ended, Indonesia has been accepted as the most consolidated country in Southeast Asia. Reasonably, political elite and public sector in Indonesia agreed that national democracy must have a marginalization of the military and the military itself also must be reformed due to their too negative roles. However, it seems to the author that although democracy in Indonesia is quite strong, reconciliation is being failed regarding of appeal toward military responsibility, limitation of victims’ compensation, including serious confrontation with violence from the past. Though the solid democracy  will be able to provide Indonesia political stability and fearless of political intervention has no longer influent, violence experience in the recent past will not generate positive effects in justice creation and fundamental rule of law in country.

Keywords: Democratization, Military Reform , Indonesia

ประเทศอินโดนีเซียในยุคประธานาธิบดีซูฮาร์โต (1967-1998) ถือว่าเป็นหนึ่งประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนในวงกว้างสูงที่สุดในโลก กองทัพอินโดนีเซียหรือ Armed Forces of the Republic of Indonesia (ABRI) มีบทบาทสำคัญในการเป็นกลไกเข่นฆ่าและปราบปรามประชาชน บทความนี้ผู้เขียนมีข้อถกเถียงว่า ภายหลังการสิ้นสุดระบอบซูฮาร์โต ประเทศอินโดนีเซียได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สาเหตุสำคัญเนื่องจากชนชั้นนำทางการเมืองและภาคประชาสังคมอินโดนีเซียเห็นสอดคล้องกันว่า ประชาธิปไตยในประเทศต้องนำทหารออกจากการเมืองและกองทัพต้องได้รับการปฏิรูป เนื่องจากกองทัพมีบทบาทในแง่ลบมากเกินไปในอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนยังคงถกเถียงอีกว่า แม้ประชาธิปไตยในประเทศอินโดนีเซียจะเข้มแข็งขึ้น แต่ประเทศอินโดนีเซียกลับล้มเหลวในการสร้างความปรองดอง เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียยังไปไม่ถึงการเรียกร้องความรับผิดชอบในกองทัพ รวมถึง การชดเชยเยียวยา เหยื่อภายใต้ระบอบทหาร และการเผชิญหน้ากับอดีตความรุนแรงอย่างจริงจัง ดังนั้น การที่ประชาธิปไตยเข้มแข็งอาจจะสามารถสร้างเสถียรภาพทางการเมืองให้ประเทศ โดยปราศจากซึ่งความหวาดกลัวจากการเข้าแทรกแซงทางการเมืองโดยกองทัพอีกต่อไป แต่ทว่าการขุดฝังความรุนแรงในอดีตเอาไว้ย่อมไม่เป็นผลดีต่อการสร้างความยุติธรรมและการวางหลักนิติรัฐให้กับประเทศ

 

คำสำคัญ: กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย, การปฏิรูปกองทัพ, อินโดนีเซีย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02