การบริหารปกครองด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับข้อสังเกตกรณีเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จังหวัดชัยภูมิ Environmental Governance and the Remarks on the Case of ASEAN Potash Mining, Chaiyaphumi Province

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษ กมุทมาศ อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศุภวรรณ คล่องดำเนินกิจ นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การบริหารปกครองด้านสิ่งแวดล้อม, การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม, เหมืองแร่โปแตช, Environmental Governance, Environmental Politics, Potash Mine

บทคัดย่อ

The article aimed to examine the concept of environmental governance. Nowadays, it was recognized that the “Government” concept has trended to be “Governance,” which is a process of openness of the non-state political sphere, to participate in policy agendas setting by various means and levels of governance, also with the state. To strengthen the people to be more engage in politics and realize their public ownership, especially, by reduction of hierarchical command of the government whereas encourage the vertically cooperation among the sectors. Thus, the governance should utilize the multilateral approach which includes both of the state and the non-state sectors (e.g. private firms, the citizens, the NGOs) to achieve that goal. The case of ASEAN potash mining in Chiyaphumi province is employed as the case study. It is found that after the coup d'état of General Prayuth Chan-O-Cha in 2014, his cabinets have exercised political power to push the mining project up in Amphoe Bamnej Narong to be successful. The findings are indicated that there are the intensive cooperation between the state and the corporations, on the other hand, the people who have been the stakeholders of the project could not access to the important information and lack of participation in the policy decision making processes which are related to their interests and daily life directly.

Keywords: Environmental Governance, Environmental Politics, Potash Mine

บทความนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจแนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารปกครองด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้พบว่าในปัจจุบันทิศทางของการบริหารปกครองสังคมการเมืองได้เคลื่อนไปสู่มโนทัศน์ “การบริหารปกครอง” ซึ่งเป็นลักษณะของกระบวนการที่เปิดพื้นที่ส่วนอื่นๆที่นอกเหนือจากรัฐ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดวาระทางนโยบายในการบริหารจัดการบ้านเมือง เป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในหลากหลายระดับ และสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของสาธารณะร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดทอนอำนาจสั่งการบังคับแนวตั้ง และเสริมสร้างความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆในแนวระนาบ ซึ่งพบว่าการจัดการปกครองในประเด็นดังกล่าวนี้ ต้องอาศัยการกระบวนการมีส่วนร่วมของพหุภาคี ประกอบไปด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ เช่น องค์กรเอกชนไม่แสวงกำไร  ผู้เขียนได้ใช้กรณีการจัดทำเหมืองแร่โปแตชอาเซียน จังหวัดชัยภูมิ เป็นกรณีศึกษา ซึ่งพบว่าภายหลังการรัฐประหารในปี พ.ศ.2557 โดยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการผลักดันโครงการเหมืองแร่โปแตชในพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือกันระหว่างรัฐและกลุ่มทุนบรรษัทเอกชนอย่างเข้มข้น ในทางตรงข้ามประชาชนในพื้นที่ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญจากโครงการดังกล่าว กลับอยู่ในสภาวะที่ขาดการเข้าถึงและรับรู้ข้อมูลที่เหมาะสม ตลอดจนขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเชิงนโยบาย

คำสำคัญ : การบริหารปกครองด้านสิ่งแวดล้อม, การเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม, เหมืองแร่โปแตช

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02