ความกลัวเมียของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในประเทศไทย Henpeckedness in Relationships of Students of a University of Thailand

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วรวัฒน์ เทียนศรี นักศึกษาหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

นักศึกษามหาวิทยาลัย, ความเจ้าชู้, ความกลัวเมีย, University Students, Flirtatiousness, Henpeckedness

บทคัดย่อ

This study intended to 1) assess and evaluate the degrees of henpeckedness in relationships of students of a university of Thailand by individual factors of field of study, birthplace, income, and family role model, and 2) test the correlation between such henpeckedness and flirtatiousness of the students by utilizing questionnaires to collect data from 400 male undergraduates enrolled in the first semester of academic year 2016. Statistics employed in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-statistic, one-way ANOVA, Tukey's pairwise comparison, and Pearson's correlation coefficient at significance level of 0.05. It was found that the students were henpecked at a moderate level. Students with different family role models and levels of income had different degrees of henpeckedness in relationships, whereas differences in field of study or birthplace did not affect henpeckedness in relationships. The correlation test showed a weak positive correlation between the degrees of flirtatiousness and henpeckedness.

Keywords: University Students, Flirtatiousness, Henpeckedness

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความกลัวเมีย และเปรียบเทียบระดับความกลัวเมียดังกล่าวของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศไทย จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ สาขาวิชา, ภูมิลำเนา, รายได้ และแบบอย่างในครอบครัว และ 2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ้าชู้และระดับความกลัวเมียข้างต้น ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเหล่านั้น โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาชาย ซึ่งมีสถานภาพเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในภาคต้น ปีการศึกษา 2559 จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธีของ Tukey และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของ Pearson ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยมีความกลัวเมียอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งมีรายได้ และแบบอย่างในครอบครัวแตกต่างกัน มีระดับความกลัวเมียแตกต่างกัน ขณะที่นักศึกษามหาวิทยาลัยซึ่งมีสาขาวิชา และภูมิลำเนาแตกต่างกัน มีระดับความกลัวเมียไม่แตกต่างกัน การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเจ้าชู้และระดับความกลัวเมียของนักศึกษามหาวิทยาลัย พบว่ามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน ในระดับต่ำ

คำสำคัญ: นักศึกษามหาวิทยาลัย, ความเจ้าชู้, ความกลัวเมีย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02