สัมฤทธิผลด้านการวิจัยของ อาจารย์มหาวิทยาลัยไทย Research Achievements of University Lecturers in Thailand
คำสำคัญ:
สัมฤทธิผลด้านการวิจัย, อาจารย์, มหาวิทยาลัยไทย, Research achievement, Lecturer, Thai Universitiesบทคัดย่อ
The purposes of this research are the following: (1) to study the level of research achievements of Thai university lecturers, and (2) to investigate the factors affecting the research achievements of Thai university lecturers.Our research sample comprising of 185 Thai university lecturers. These were chosen by stratified random sampling. The research method is processed by using a questionnaire. The statistic used in this study are mean, Pearson’s correlation coefficient and stepwise multiple digression analysis.The research results show that (1) the group of Business Administration and Management Science displayed a low level of research achievement. When comparing between the five university groups, we have found that they have a statistical difference in research achievement significantly at 0.01. Research achievement ranking were found low to the lowest, with public universities at a lowest level of research achievement followed by Rajabhat universities, private universities, autonomous universities and Rajamangala Universities of Technology, respectively. (2) The research analysis using Pearson’s correlation coefficient found that the following factors have a direct impact on lecturers’ research achievement with a statistical significance of 0.01: external support, ideology of university lecturers, attempts to develop lecturers’ research ability, motivation, executive leadership, and communication. (3) Data from stepwise multiple regression analysis shows that external support, ideology of university lecturers and communication can predict 46.2 percent.
Keywords : Research achievement, Lecturer, Thai Universities
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยไทย โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในคณะบริหารธุรกิจหรือการจัดการของมหาวิทยาลัย 5 แห่ง ซึ่งเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัย 5 กลุ่มจำนวนทั้งหมด 185 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า (1) อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยที่ปฏิบัติหน้าที่สอนในคณะบริหารธุรกิจหรือการจัดการมีสัมฤทธิผลด้านการวิจัยที่ระดับน้อยที่สุด หรือ ไม่ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายด้านการวิจัยไปปฏิบัติ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มมหาวิทยาลัยพบว่ามีสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งทุกกลุ่มมีสัมฤทธิผลด้านการวิจัยที่ระดับน้อยถึงน้อยที่สุดตามลำดับดังนี้ มหาวิทยาลัยรัฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาวิทยาลัยเอกชน มหาวิทยาลัยในกำกับและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตามลำดับ (2) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันพบว่า ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอก อุดมการณ์ของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย การพัฒนาความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์ สิ่งจูงใจ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และด้านการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์ไทยประกอยด้วย ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านอุดมการณ์ของการเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยและด้านการสื่อสารตามลำดับ ซึ่งสามารถพยากรณ์การส่งผลต่อสัมฤทธิผลด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 46.2
คำสำคัญ : สัมฤทธิผลด้านการวิจัย, อาจารย์, มหาวิทยาลัยไทย