การศึกษาและพัฒนาการตลาดเกษตรอินทรีย์ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ The Study and Development of Organic Farm Marketing in Kalasin Province
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การตลาดเกษตรอินทรีย์, จังหวัดกาฬสินธุ์, Development, Organic Farm Marketing, Kalasin provinceบทคัดย่อ
This research aims to study and develop organic farm market in Kalasin province. The sampled group was selected using a purposive technique that included 18 members of Donsawan organic plants group and 12 representatives from governmental and private sections. In-depth interview was used as a research instrument and verified by experts and collected data was analyzed through technique of Content Analysis. The results revealed that 1) organic marketing; in terms of products consisted of seasonal non-toxic vegetables and local vegetables; in terms of pricing based on marketing system, the pricing specification was equal to the general price in the market; in terms of sales distribution, organic products were brought to sale in the weekend market in the community as well as in collaborative shops of the province; in terms of marketing promotion, the public relation was manipulated via the uses of local media, brochures, words of mouth of those come visit the farm site and exchange knowledge among the organic networks. 2) In aspects of the development of organic farming market, an operational meeting was held to find potentials and joint paths for the development of organic products quality and the group management to have higher capabilities.
Keywords: Development, Organic Farm Marketing, Kalasin province
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาการตลาดเกษตรอินทรีย์ จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เป็นสมาชิกกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษชุมชนดอนสวรรค์จำนวน 18 คน ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและชุมชน จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบเครื่อมือโดยผู้เชี่ยวชาญประเมินผลตรวจสอบยืนยัน (Expert Verify) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า (1) การตลาดของเกษตรอินทรีย์ ด้านผลิตภัณฑ์ คือ ผักปลอดสารพิษซึ่งเป็นผักตามฤดูกาล และผักพื้นบ้าน การกำหนดราคาเป็นไปตามกลไกของท้องตลาด โดยกำหนดราคาเท่ากับผักที่ขายทั่วไปในท้องตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย มีนำการผักปลอดสารพิษออกจำหน่ายตามตลาดนัดชุมชน รวมทั้งออกร้านร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ การส่งเสริมการตลาด เป็นการประชาสัมพันธ์โดย สื่อท้องถิ่นชุมชน แผ่นพับ และการบอกต่อของผู้ที่มาศึกษาดูงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย (2) การพัฒนาตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ จากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในการหาแนวทางพัฒนาร่วมกันทำให้สมาชิกกลุ่มสามารถพัฒนาคุณภาพของผักปลอดสารพิษ และมีการบริหารกลุ่มที่มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ : การพัฒนา, การตลาดเกษตรอินทรีย์, จังหวัดกาฬสินธุ์