ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนา กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเมืองขอนแก่น The Proposed Policy for the Development of Khon Kaen Infrastructure Fund
คำสำคัญ:
การระดมทุน, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน, funding, infrastructure fund, Public Private Partnershipsบทคัดย่อ
This research aims to study the city infrastructure fund administration form and suggestion policy in order to develop the city infrastructure fund The analysis and lessons learned from the infrastructure fund of Singapore, Malaysia, Japan, China, India, U.S, UK and Australia. Including, the 10 participants were in-depth interviewed as the target group in order to observe the possibilities and find out the appropriate mutual fund administration form guidelines for Khon Kaen urban. The result found that, most of the foreign funding forms tend to be joint venture between government and private sectors; Public Private Partnerships (PPPS), approach that be basic of public business administration which increased its necessary through various countries like United Kingdom or India in order to be integration guideline. Meanwhile, the developed countries like U.S.A. or Japan, the high decentralization and liberalization in administrative access, thus, the funding form like municipality bonds will emphasize the administrative decentralization in order to be the highest effectiveness. Therefore the Khon Kaen urban development form should be the PPPs approach so the private sectors will participate in administrative capacity addition. This form will provide the worthwhile public services with its capital better than government sectors execution. The funding forms that Khon Kaen urban administrators will perform is “Khonkaen Infrastructure Fund”, the mentioned mutual fund will perform in the manner of partnership along with society development.
Keywords: funding, infrastructure fund, Public Private Partnerships
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบของการบริหารกองทุนโครงสร้างพื้นฐานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการบริหารกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเมืองขอนแก่น โดยการวิเคราะห์และถอดบทเรียนรูปแบบการบริหารกองทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ญี่ปุ่น ,อินเดีย, สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายในพื้นจำนวน 10 คน เพื่อดูความเป็นไปได้และหาแนวทางของรูปแบบของการบริหารกองทุนรวมที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองขอนแก่น ซึ่งผลจากการศึกษาพบว่ารูปแบบของการระดมทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่ มีแนวโน้มรูปแบบวิธีร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนในลักษณะ Public Private Partnerships (PPPs) ที่เป็นหลักปฏิบัติทางการบริหารกิจการสาธารณะที่ทวีความสำคัญหลายประเทศอย่าง สหราชอาณาจักรหรืออินเดียที่ใช้เป็นกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศ ในขณะเดียวกันประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการกระจายอำนาจและให้อิสระทางการปกครองไปยังท้องถิ่นค่อนข้างสูง จึงทำให้รูปแบบของระดมทุนในการออกพันธบัตรเทศบาลที่ตอกย้ำถึงหลักการกระจายอำนาจทางการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด ดังนั้นรูปแบบในพัฒนาเมืองขอนแก่น จึงควรออกมาในรูปแบบของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน(PPPs)โดยเป็นการให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการ โดยรูปแบบนี้จะช่วยให้การบริการสาธารณะที่จะเกิดขึ้นมีความคุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่าการที่ให้ภาครัฐดำเนินการเอง ซึ่งวิธีการในการระดมทุนที่เมืองขอนแก่นจะดำเนินการคือการระดมทุนในลักษณะของการจัดตั้ง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน” ในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนาร่วมกับสังคม
คำสำคัญ: การระดมทุน, กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน, ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน