รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและ อาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร A Model of Learning Resources Management for Private Technological and Vocational College in Yasothon Province

ผู้แต่ง

  • เมธี ศรีวะรมย์ นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สุวพร เซ็มเฮง อาจารย์ ดร.,สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ,อาจารย์ ที่ปรึกษาหลัก
  • ธนวรรธ ศรีวะรมย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.,ประจำวิทยาลัยนครราชสีมา, อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้, สถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน, Model, Learning Resources Management, Private Technological and Vocational College

บทคัดย่อ

This research was a qualitative and quantitative research with following purposes:1) to study condition of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province; 2) to make and examine a model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province; and 3) to evaluate feasibility and suitability for applying the model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province. The research was separated into three phases. First, study condition of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province. The sample group consisted of licensees, executives, school committee members, lecturers and students in private technological and vocational college in Yasothon Province from seven colleges. The sample group was acquired from purposive sampling. Each college comprised of licensee, director, 4 sectors committee members, vocational and high vocational class lecturers, and vocational and high vocational students totaling 182 persons. Additionally, 15 experts and specialists who gave interview were executives of private technological and vocational college, specialists on educational technology and experts on management. Second, make and examine a model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province by five experts and specialists who had knowledge/ experiences related to learning resources management. Third, evaluate feasibility and suitability for applying the model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province. The sample group contained 

executives, school committee members and lecturers from seven private technological and vocational colleges in Yasothon Province. The sample group was obtained from purposive sampling. Each college composed of director, 4 sectors committee members, vocational and high vocational class lecturers, and vocational and high vocational lecturers totaling 105 persons. Subsequently, the tools used for this research were questionnaire, semi-structure interview, model correctness and suitability evaluation test, feasibility and application suitability evaluation test. The statistics employed for this research were percentage, mean and standard deviation.     Findings revealed that: 1. For learning resources management of private technological and vocational college in Yasothon Province, overall of practice on learning resources management was 90.27 percent. For each aspect, there were practices on learning resources management accounting for 88.19 percent, learning resources application accounting for 89.31 and supervision accounting for 94.17 percent.  2. The model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province consisted of 1) plan analysis; 2) planning; 3) operation; 4) activities; and 5) supervision.  And 3. The overall of feasibility and suitability of the model of learning resources management for private technological and vocational college in Yasothon Province was at the highest level.

Keywords: Model, Learning Resources Management, Private Technological and Vocational College 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยมีความมุ่งหมายของการวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธรไปใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาต ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา ครู และนักเรียนในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร จำนวน 7 โรง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling) แต่ละโรงประกอบด้วย ผู้รับใบอนุญาต ผู้อำนวยการ คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย ครูประจำชั้นปวช.และปวส. และนักเรียน ระดับชั้นปวช.และปวส.รวมจำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 182 คน และมีผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ระยะที่ 2 เป็นการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร โดยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ / ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้จำนวน 5 คน และระยะที่ 3 เป็นการประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธรไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร คณะกรรมการสถานศึกษา และครูในวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร จำนวน 7 โรง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แต่ละโรงประกอบด้วย ผู้อำนวยการ คณะกรรมการภาคี 4 ฝ่าย และครูประจำชั้นปวช.และปวส. รวมจำนวนทั้งสิ้น 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความถูกต้องและความเหมาะสมของรูปแบบ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการนำรูปแบบไปใช้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร โดยภาพรวมมีการปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 90.27 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการจัดการแหล่งเรียนรู้ มีการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 88.19 ด้านการใช้แหล่งเรียนรู้ มีการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 89.31 และด้านการนิเทศติดตามผล มีการปฏิบัติคิดเป็นร้อยละ 94.17  2. รูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์นโยบาย 2) การวางแผน 3) การดำเนินงาน 4) การจัดกิจกรรม และ 5) การนิเทศติดตามผล และ 3. ความเป็นไปได้และความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้สำหรับสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดยโสธร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


คำสำคัญ: รูปแบบ, การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้, สถานศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเอกชน 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-02