ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ คณะรัฐศาสตร์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • นพพล อัคฮาด สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม, นักศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์, Fear of Crime, Student, Kalasin Rajabhat University

บทคัดย่อ

ขณะที่นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ถือเป็นหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่กำลังได้รับ ความสนใจนำมาเป็นตัวอย่างในการวิจัยเกี่ยวกับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมใน แวดวงวิชาการระหว่างประเทศด้านอาชญาวิทยา ทว่า กลับยังไม่พบผลงานวิจัยเช่น ว่านี้ในกรณีของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความ หวาดกลัวต่ออาชญากรรม ความคิดเห็นต่อความรุนแรงของปัญหาอาชญากรรม รวมถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าวในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ตลอดจนวิเคราะห์เปรียบเทียบและทดสอบสหสัมพันธ์ ระหว่างระดับความหวาดกลัวข้างต้น กับปัจจัยส่วนบุคคล และประสบการณ์เกี่ยวกับ อาชญากรรมและการรับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยอาศัยแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษา ระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ จำนวน 400 ตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นหญิง อายุเฉลี่ย ประมาณ 20 ปี มีสถานะโสดและยังไม่มีแฟน มีรายได้อยู่ระหว่าง 5,001-10,000 บาทต่อเดือน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายตนเองว่าอยู่ใน ระดับมาก มีปัจจัยด้านเครือข่ายทางสังคมภายในมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับมาก และมี ปัจจัยด้านความเชื่อมั่นต่อสถาบันสาธารณะ รวมถึงความรู้สึกเสี่ยงต่อการเผชิญ เหตุการณ์รุนแรงภายในมหาวิทยาลัย อยู่ในระดับเล็กน้อย ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ไม่เคยประสบอาชญากรรมด้วยตนเอง มีญาติที่ใกล้ชิด และ/หรือเพื่อนสนิทที่ประสบอาชญากรรมด้วยตนเอง หรือแม้แต่รับทราบถึงปัญหา อาชญากรรมภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ โดยคิดว่ามีปัญหาอาชญากรรมที่ เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์อยู่ในระดับเล็กน้อย มีสาเหตุมาจากการมี การค้าสุราและ/หรือเบียร์ และมีระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมโดยภาพ รวมอยู่ในระดับเล็กน้อย

การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพสมรส และ ประสบการณ์เกี่ยวกับอาชญากรรมและการรับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมใน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ พบว่ามีระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมใน มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทดสอบสหสัมพันธ์ระหว่าง ระดับความหวาดกลัวข้างต้น ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นต่อสถาบัน สาธารณะ และความรู้สึกเสี่ยงต่อการเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงภายในมหาวิทยาลัย

 

While students in higher education have become a trending sample group for researches on fear of crime in academic circles of international affairs in areas of criminology, hardly any concerning research in case of Thailand has been carried out. This research therefore intends to explore the level of fear of crime, attitude toward seriousness of crimes, along with causes thereof, in Kalasin Rajabhat University among the students, as well as conducting comparative analysis and testing correlation between the level of fear of crime and personal factors and prior experience and awareness of crime in Kalasin Rajabhat University, by quantitative research methodology; utilising a questionnaire to gather data from 400 samples of undergraduates of Kalasin Rajabhat University.

The result has revealed that the majority of the respondents were female of average age 20, single, with monthly income between 5,001-10,000 baht, considered their physical health as great, highly involved with factors of campus social networks, and trusted in public institutions, as well as perceived risk of victimisation on campus at marginal levels. During past 12 months, most of the respondents had never experienced crime by themselves, had no relative or any close friend who had experience crime, or even acknowledged any crime within Kalasin Rajabhat University. The respondents considered occurrences of crime in Kalasin Rajabhat University as infrequent, caused by alcohol sales, and had a low overall fear of crime.

The comparative analysis of level of fear of crime among Kalasin Rajabhat University students by gender, age, marital status, crime experience, and perception of crime in Kalasin Rajabhat University has pointed out varying degrees of fear of crime. Also the test of correlation between levels of fear has revealed a relationship between the confidence in public institutions and perceived risk of victimisation on campus.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads