การศึกษาวิเคราะห์ความรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหายตาม มาตรา 27 ของพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพในบริบทของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เศรษฐบุตร อิทธิธรรมวินิจ ภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความรับผิด, การชดใช้ค่าเสียหาย, สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม, ประเทศไทย, liability, redress, genetically modified organisms, Thailand

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติว่า ด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. .... อยู่ในระหว่าง กระบวนการพิจารณาจัดทำเป็นกฎหมาย อันเป็นการอนุวัติการกฎหมายไทยเกี่ยวกับ ความรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหายให้เป็นไปตามพันธกรณีของพิธีสารคาร์ตาเฮนาฯ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ความรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหาย สำหรับความเสียหายที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม และเพื่อเสนอหลักเกณฑ์ ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยเกี่ยวกับความรับผิดและการชดใช้ค่าเสียหาย

ผลการวิจัยพบว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปลอดภัย ทางชีวภาพของเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ พ.ศ. .... ยังคงมีปัญหาในการบังคับใช้ ดังนั้น ควรกำหนดสาระสำคัญในประเด็นต่อไปนี้ให้ชัดเจน คือ ขอบเขตของความ เสียหาย ผู้ต้องรับผิดชอบ ค่าเสียหาย ข้อจำกัดความรับผิด ข้อยกเว้นความรับผิด และ การระงับข้อพิพาท เป็นต้นว่า ความรับผิดในความเสียหายควรเป็นความรับผิดอย่าง เคร่งครัด (strict liability) ผู้ก่อความเสียหายไม่ต้องรับผิดหากพิสูจน์ได้ว่าความ เสียหายเกิดจากเหตุสุดวิสัยหรือการกระทำที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าของเจ้าหน้าที่ ของรัฐ

 

Thailand is a Party to the Cartagena Protocol on Biosafety to the Convention on Biological Diversity. In Thailand, a biosafety law has been drafted in order to implement the obligations of the Cartagena Protocol, particularly liability and redress for damage caused by genetically modified organisms (GMOs). This research aimed to study on an issue of liability and redress for damage arising from GMOs and to propose recommendations concerning the liability and redress for Thailand.

Findings of this research showed that the draft legislation on biosafety was likely to have problems concerning the law enforcement. The draft legislation should clearly specify the subject matters of scope, liable person, damage, limitation, exception and settlement of claims. For example, the strict liability should be used to deal with damage. Persons should have no liability if they prove that damage resulted from force majeure or through compliance with compulsory measures issued by a competent national authority.

Downloads