สิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาป่าชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา คุ้มทรัพย์ คณะบริหารศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

สิทธิชุมชน, การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ, ป่าชุมชน, Community Rights, Natural Resources Management, Community Forest

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหลายฉบับและมีหน่วยงานที่มีภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรงหลายหน่วยงาน กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ในปัจจุบันต่างสนับสนุนหลักการรวมศูนย์อำนาจในการจัดการป่า ป่าชุมชนในแง่อำนาจรัฐมีปัญหาทางด้านกฎหมายทับซ้อนกับกฎกติกาของชุมชน การต่อรองในเรื่องสิทธิได้นำไปสู่การสร้างกลไกที่เกิดการตรวจสอบถ่วงดุลได้ กรณีป่าชุมชน คือตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยได้อย่างชัดเจน รัฐยังคงรวมศูนย์อำนาจในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ มองมิติการจัดการเชิงพื้นที่และการบริหารจัดการ ในเชิงวิชาการป่าไม้มากกว่าการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ขาดการบูรณาการระหว่างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมขาดการบูรณาการระหว่างทรัพยากรป่าไม้กับทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆในเชิงระบบนิเวศที่เป็นองค์รวม ทำให้การกำหนดนโยบายและกฎหมายขาดความสอดคล้องกับความเป็นจริงก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ ภาครัฐควรมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของสังคมภายใต้กรอบของกฎหมายและบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ว่าด้วยเรื่องของสิทธิชุมชน

 

Thailand has laws related to natural resource management and environmental issues and environmental agencies with the mission of the agency directly. Law on Forests currently supports the principles of centralization of forest management. Forest communities in the state has the legal authority overlaps with the rules of the community. The bargaining rights has led to the creation of a mechanism of checks and balances in the community forest is an example that reflects the weakness inefficiencies in the management of natural resources and environment of Thailand clearly. Government has centralized power in the management of forest resources. Look dimensional spatial management and administration. In forestry over the management of the relationship between man and nature. The lack of integration between economic developments. The lack of integration between forest resources and other natural resources in the ecosystem as a whole. The lack of consistent policy and legal realities causing a conflict continued existence. The government should have policies and procedures in line with the realities of the society within the framework of law and the provisions of the Constitution of the Kingdom of Thailand BE 2550 on the subject of rights.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads