ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของประชาชน ในหมู่บ้านเมืองเอก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • จอมเดช ตรีเมฆ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • อารณีย์ วิวัฒนาภรณ์ วิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม, เพศ, หมู่บ้านเมืองเอก, Fear of Crime, Sex, Muang-Ake

บทคัดย่อ

เพื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจ และสร้างข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ไขปัญหาความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของประชาชนในหมู่บ้านเมืองเอก ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรม และความแตกต่างของระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมของประชาชนในหมู่บ้านเมืองเอก รวมถึงความคิดเห็นต่อความรุนแรงของปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนสาเหตุของปัญหาดังกล่าวในหมู่บ้านเมืองเอก ด้วยวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยอาศัยแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาชญากรรมกับตนเองและคนในครอบครัวภายในหมู่บ้านเมืองเอก แต่รับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมกับคนอื่นภายในหมู่บ้านเมืองเอก 1-2 ครั้งและมีภาพรวมระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอกอยู่ในระดับมากโดยมีความคิดเห็นว่าในอนาคตจะถูกข่มขืนหรือกระทำชำเราในหมู่บ้านเมืองเอกมากที่สุด

การวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอก พบว่า เพศ ประสบการณ์เกี่ยวกับอาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอก และการรับทราบถึงปัญหาอาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอกแตกต่างกัน ทำให้มีระดับความหวาดกลัวต่ออาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอก แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การลักทรัพย์ เป็นปัญหาอาชญากรรมที่มีความรุนแรงมากที่สุดในหมู่บ้านเมืองเอก และมีความคิดเห็นว่าสาเหตุสำคัญของปัญหาอาชญากรรมในหมู่บ้านเมืองเอกน่าจะเกิดจากการมีสถานเริงรมย์ มากที่สุด

 

This article provides the basic idea to understand and create the recommendation to solve the fear of crime among people in MuangAke, Lak Hok, Muang, Pathumthani. This research has the objectives to study the level of crime fear and the difference of the crime fear level of the people living in Muang-Ake including the opinions to the crime violence along with the cause of the crime problem in the village by utilizing the quantitative methods with the questionnaire of 400 samples.

The result found that over the past year, most of the samples did not have the crime experiences for both their family members and themselves in the village, but they acknowledge that the crime happened to other villagers 1-2 times. Also, their overall level of crime fear is at the high level and the fear of the rape and sexual harassment in the village is at the highest level of fear.

The comparison analysis of the crime fear in Muang-Ake shows that the sex, related-crime experiences, and the acknowledgement of crime problem are different making the levels of crime fear in the village are statistically different at the 0.01 level of significance. Furthermore, most questionnaire respondents commented that the robbery is the highest violent crime in the village and the most important cause of these crimes will come from the entertainment places.

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads