ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สมสมัย พิลาแดง สาขาวิชากรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
  • ยุทธพล ทวะชาลี คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
  • กตัญญู แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง, social welfare, the elderly, Dong Phayung Sub-District Administrative Organization

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ผู้สูงอายุที่ได้รับบริการด้านสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 491 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ได้รับบริการด้านสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์จำนวน 216 คน การ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ตัวเลือก มีความเชื่อมั่นเท่ากับ .82 และแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะ เป็นคำถามแบบปลายเปิดสถิติวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 216 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.0 มีอายุ 63 ปีร้อยละ 47.0 รองลงมา คือ อายุ 62 ปี และ 64 ปี ร้อยละ 40 การศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 100 สถานภาพสมรส ร้อยละ 100 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 91.2รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของผู้ตอบแบบสอบถาม (เบี้ยยังชีพ บุตร/หลานให้/รายได้จากอาชีพ) 2,001 - 3,000 บาท ร้อยละ 91.2

2. ความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและด้อย โอกาส ( \inline \bar{X} = 4.14) รองลงมาคือด้านนันทนาการ ( \inline \bar{X} = 4.08) ด้านสุขภาพอนามัย ( \inline \bar{X} = 3.80) ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน( \inline \bar{X} = 3.72) ด้านที่อยู่อาศัย ( \inline \bar{X} = 3.47) และด้านการศึกษา ( \inline \bar{X} = 3.48) ตามลำดับ

3. แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลดงพยุงมีดังนี้

3.1 ด้านสุขภาพอนามัย มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ด้านสุขภาพอนามัย เรียงตามลำดับมากไปน้อย ส่วนใหญ่พบว่าควรมีการจัดเจ้าหน้าที่ออกให้บริการแพทย์แผนไทยให้กับผู้สูงอายุ ร้อยละ 32.0 รองลงมาคือ ควรมีการอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพอนามัยสำหรับผู้สูงอายุเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 27.0

3.2 ด้านการศึกษา มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ด้านการศึกษา เรียงตามลำดับมากไปน้อย ส่วนใหญ่พบว่า ควรมีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ร้อยละ 52.0 รองลงมาคือ ควรจัดสถานที่เพื่อเป็นแหล่งค้นคว้าให้ผู้สูงอายุ และมีความเหมาะสมร้อยละ 31.0

3.3 ด้านนันทนาการ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ด้านนันทนาการ เรียงตามลำดับมากไปน้อย ส่วนใหญ่พบว่า ควรมีการจัดกิจกรรมที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุ เช่นกิจกรรมทางศาสนา หรือแหล่งท่องเที่ยวที่เหมาะสม ร้อยละ 41.0 รองลงมาควรมีการจัดสถานที่สาธารณะในชุมชนให้เป็นสถานที่ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ร้อยละ 32.0 และควรมีการจัดเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำในการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ร้อยละ 27.0

3.4 ด้านที่อยู่อาศัย มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ด้านที่อยู่อาศัย เรียงตามลำดับมากไปน้อย ส่วนใหญ่พบว่าควรเร่งดำเนินการจัดทำโครงการกู้เพื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยร้อยละ 67.0 รองลงมาคือ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้กับคนในครอบครัวและผู้สูงอายุในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 33.0

 

This research aimed to study the social welfare needs of the elderly in the area of Dong Phayung Sub-District Administrative Organization, Don Chan district, Kalasin province and to investigate guidelines for developing the social welfare management for the elderly in the area of Dong Phayung Sub-District Administrative Organization, Don Chan district, Kalasin province. The population was 491 elderly people receiving the elderly allowance service from Dong Phayung Sub-District Administrative Organization, Don Chan district, Kalasin province. The samples were 216 elderly people, both males and females, aged 60 up, receiving the elderly allowance service, and living in the area of Dong Phayung Sub-District Administrative Organization, Don Chan district, Kalasin province. The instrument was a five-point rating scale questionnaire with reliability value of .82. The questionnaire contained open-ended questions asking about suggestions. Statistics consisted of frequency, percentage, mean, and standard deviation.

The results of this research revealed the following:

1. Regarding general information of 216 respondents, it was found that most respondents were females (53%) and 63 years old (47%). The rest was 62 and 64 (40%). All respondents possessed primary education level (100%) and got married (100%). Most of them were farmers (91.20%) and they had average incomes (from the elderly allowance, children/grandchildren, and careers) about 2,001-3,000 baht (91.20%).

2. Overall, the social welfare needs of the elderly in the area of Dong Phayung Sub-District Administrative Organization were at the high level. When considering each section of needs, it was found that the section which had the highest average was to solve poverty and disadvantage problem ( \inline \bar{X} = 4.14). The sections that had the second highest average consisted of recreation ( \inline \bar{X} = 4.08), health ( \inline \bar{X} = 3.80), security ( \inline \bar{X} = 3.72), accommodation ( \inline \bar{X} = 3.47), and education ( \inline \bar{X} = 3.48) respectively.

3. Guidelines for developing the social welfare management for the elderly in the area of Dong Phayung Sub-District Administrative Organization, were as follows:

3.1 In the health section, the elderly recommended that the officials should be sent to provide Thai traditional medical service to the elderly (32%) and the elderly should be educated on health care on a continual basis (27%).

3.2 In the education section, the elderly recommended that the elderly should be educated on the essential information (52%) and they should be provided an appropriate place as learning source (31%).

3.3 In the recreation section, the elderly recommended that the activities appropriate for the elderly—such as religious activities and visiting attractions—should be organized (41%). The public place in the community should be developed as an appropriate place for exercises of the elderly (32%) and there should be officials giving advices on the right exercises for the elderly (27%).

3.4 In the accommodation section, the elderly recommended that the project on loan for the elderly to improve the accommodation (67%) and the family members and elderly should be promoted and educated to improve the accommodation in order to prepare for the elderly (33%).

Downloads