ความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงาน ตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ธรรมาภิบาล, ความคิดเห็น, Good governance, operationsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA)ผลการศึกษาพบว่า1) ระดับความคิดเห็นพนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยรวมมี ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากจำนวน 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบหลักความโปร่งใส หลักความคุ้มค่า หลักการมีส่วนร่วม และอยู่ในระดับปานกลางจำนวน 1 ด้าน คือ หลักนิติธรรม 2 ) ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของพนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยรวมและรายด้าน พบว่า พนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคามจำแนกตามหน่วยงานที่สังกัดมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน ส่วนระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งโดยรวมและรายด้าน 3) ข้อเสนอแนะของพนักงานเทศบาลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองมหาสารคาม พบว่า ควรมีการจัดการประชาพิจารณ์หรือเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเทศบัญญัติหรือข้อบังคับต่างๆ ที่จะมีผลบังคับใช้กับชุมชนให้มากขึ้น ไม่ควรมองว่าเป็นการเสียเวลา เนื่องจากประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเทศบัญญัติหรือข้อบังคับดังกล่าว ควรมีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือองค์กรชุมชน หรือสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสามัคคีในชุมชนหรือหน่วยงาน และควรมีองค์กรหรือหน่วยงานภายนอกเข้ามาตรวจสอบการปฏิบัติงานของเทศบาลอย่างจริงจังThis research aimed to study survey and compare opinions of officers in Maha Sarakham Municipality towards operations based on the principles of good governance and to find suggestions efficient operations of the officers. The population was 115 officers of Maha Sarakham Municipality. The research instrument was a rating-scale questionnaire. The statistics were used mean, standard deviation, percentage and F-test (One Way ANOVA). This research found that the average level of the opinion of the officers towards the operations was high. The five-high-rated areas of the good governance principles were morality, responsibility, transparency, being worthwhile and participation. Whereas, the only moderate-rated area of the good governance principles was legal principle. The finding indicated that the average level of the opinion of the officers towards the work performance regarding work division was significantly different at the .05 level. Whereas, the average level of the opinion of the officers towards the operations regarding their educational background and work experience was not significantly different at the .05 level. Regarding the suggestion, it is concluded that public hearing strategy should be employed in a regulation-making process. Supporting group or organization should be set up and organize many different activities to create community unity and to examine the operations of the officers in municipality office.