พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อุบล ตินะโส สาขาวิชาการวิจัยรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
  • กตัญญู แก้วหานาม คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
  • ประสิทธิ์ คชโคตร คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, เลือกตั้ง, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, Voting, Behaviour, Chief Executive of Subdistrict Administration Organisation

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อหา แนวทางในการพัฒนาพฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประชากร ได้แก่ ประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์กรบริหารส่วนตำบลโพน ตาม ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2552 จำนวน 1,678 คน ตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน ตามประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและไปใช้สิทธิ ลงคะแนนเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2552 จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 53.5 เพศชาย ร้อยละ 46.5 มีอายุ 51 ปีขึ้นไป ร้อยละ 41.3 รองลงมาคืออายุ ระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 22.8 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 17.3 อายุ 20-30 ปี ร้อยละ 16.0 และต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 2.6 การศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษา ร้อยละ 57.7 รองลงมาคือ มัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 14.1 มัธยมศึกษาตอนปลาย /ปวช. ร้อยละ 13.1 อนุปริญญา/ปวส. ร้อยละ 7.7 ปริญญาตรี ร้อยละ 5.1 และสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 2.2 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 54.5 รับจ้าง ร้อยละ 15.4 ค้าขาย/ประกอบ ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 13.8 กำลังศึกษา ร้อยละ 8.0 ลูกจ้างบริษัทเอกชน ร้อยละ 1.9 และรับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4

2) พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอ คำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( \inline \bar{X} = 3.40) เมื่อพิจารณาราย ประเด็น พบว่า พฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการให้ความสำคัญต่อตัวผู้สมัครอยู่ในระดับมากที่สุด ( \inline \bar{X} = 4.30) รองลงมาคือ ประเด็นมีการติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ( X = 3.63) ประเด็นการไปตรวจสอบบัญชี รายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ( \inline \bar{X} = 3.55) การเข้าร่วมสังเกตการณ์นับคะแนนเลือกตั้ง ( \inline \bar{X} = 3.46) ประเด็นการไปฟังการปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ( \inline \bar{X} = 2.95) และ การเข้าร่วมสังเกตการณ์การใช้สิทธิเลือกตั้ง ( \inline \bar{X} = 2.48)

3) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ แนวพัฒนาการพฤติกรรมการลงคะแนนเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เรียงตามลำดับมากไปน้อย ส่วนใหญ่ พบว่า ควรมีการชี้แจงวิธีการลงคะแนนให้ละเอียด เพื่อลดปริมาณบัตรเสียจะได้ลดน้อยลง ร้อยละ 19.6 รองลงมาคือ ควรมีการรณรงค์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการซื้อเสียงในรูปแบบการประชาสัมพันธ์และแนะนำวิธีการให้อย่าง ถูกต้อง ร้อยละ 14.4

 

This study aimed to study the voting behaviour in an election of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, Kham Muang, Kalasin, in order to discover approaches to improve elections that were to come. The population in this research included voters who were eligible in the election of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, according to the electoral roll, and casted their votes on 6 September 2009 of 1,678 in total. The sample group comprised of voters who were eligible in the election of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, according to the electoral roll, and casted their votes on 6 September 2009 of 312 in total. The tools employed therein were questionnaires, and statistical measures of percentage, mean, frequency, standard deviation were utilised in data analysis.

The research found that: 1) Regarding general information of the respondents; the majority, or 53.5%, were female and 46.5% were male; 41.3% were over 51 years of age, followed by 22.8%, of the age group of 41-50 years old, 17.3% of 31-40 years old, 16.0% of 20-30 years old, and 2.6% below 20 years old; 57.7% with educational attainment below secondary level, 14.1% with lower secondary level, 13.1% with higher secondary/vocational level, 7.7% with diploma/high vocational level, 5.1% with bachelor’s degree, and 2.2% post-graduate; 54.5% were farmers, 15.4% workers, 13.8% merchants/entrepreneurs, 8.0% students, 1.9% private company employees, and 6.4% officials/public servants.

2) In overall, the voting behaviour in the election of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, Kham Muang, Kalasin, was on a moderate level ( \inline \bar{X} = 3.40). Analysing aspects of the voting behaviour in the election of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, Kham Muang, Kalasin, most were on high levels, with the topmost average being the aspect of esteeming the candidates ( \inline \bar{X} = 4.30), followed by the aspect of catching up on election news ( \inline \bar{X} = 3.63), checking the electoral register ( \inline \bar{X} = 3.55), observing vote counting ( \inline \bar{X} = 3.46), listening to electoral campaign speeches of candidates ( \inline \bar{X} = 2.95), and observing the voting process ( X = 2.48).

3) The suggestions on approaches to improve voting behaviour in elections of Chief Executive of Pon Subdistrict Administration Organisation, Kham Muang, Kalasin, by extent, were chiefly to explain the voting procedure clearly so as to reduce voided ballots (19.6%), and by campaigning against corruption (14.4%).

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads