จาก 9/11 ถึงสงครามต่อต้านการก่อการร้าย (ที่ไม่มีวันชนะ): ผลกระทบต่อสถานะแห่งความเป็นเจ้าของสหรัฐอเมริกา

ผู้แต่ง

  • ฑภิพร สุพร สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กรัมชี่, นีโอกรัมเชี่ยน, สงครามต่อต้านการก่อการร้าย, การครองอำนาจนำ, Gramsci, Neo-Gramscianism, War on Terrorism, Hegemony

บทคัดย่อ

หลักหมุดสำคัญของการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ เกิดขึ้น ภายหลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 9/11 ซึ่งส่งผลให้สหรัฐฯ ประกาศสงครามต่อต้าน การก่อการร้ายและหันหลังให้กับหลักการพหุภาคีนิยมสู่แนวทางเอกภาคีนิยม บทความชิ้นนี้ต้องการชี้ว่าแนวคิดเรื่องกระบวนการสร้างความยินยอมพร้อมใจและ กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ของสำนักนีโอกรัมเชี่ยนว่ามีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพิจารณา ความล้มเหลวในการครองอำนาจนำของสหรัฐฯ บทความนี้สรุปว่าการทำสงคราม ต่อต้านการก่อการร้ายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถประสบความสำเร็จโดยปราศจากความ ยินยอมพร้อมใจทั้งในระดับรัฐชาติและระดับระหว่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้นผลพวง แห่งสงครามอันยืดเยื้อยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศของ สหรัฐฯ ในระยะยาว

 

The cornerstone of the changes in the U.S. Foreign Policy began after the incident of 9/11, paving the way for U.S. to declare a war on terrorism and overturning its multilateral cooperation to unilateralism. By focusing on the concept of consent and historic bloc in the NeoGramscian School as a vital instrument to understand the failure of U.S. hegemony, this paper concludes that the war on terrorism, however, will not succeed unless the process of seeking consent in domestic and international sphere. In addition, the consequences of an unfinished war also have negative impacts on the political economy of U.S. in the long run.

Downloads