แนวทางการพัฒนาระบบการบริการประกันตัวผู้ต้องหาชั้นสอบสวน สถานีตำรวจภูธรคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • จำเริญ ศรีบุรมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

สถานีตำรวจ, ผู้ต้องหา, Police Station, Accused

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการบริการประกันตัวผู้ต้องหาในปัจจุบัน เพื่อศึกษาสภาพปัญหา เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบการบริการประกันตัวผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน โดยศึกษาจากกลุ่มประชากรที่เกี่ยวข้องกับการประกันตัวผู้ต้องหา ซึ่งได้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้ต้องหา นายประกัน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบ่งกลุ่มประชากรออกเป็น2 กลุ่ม ได้แก่ 1) เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดำเนินการเกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหา 2) กลุ่มผู้ต้องหาประกันตนเอง หรือ นายประกัน

จากการสัมภาษณ์ พบปัญหาขั้นตอนการประกันตัวผู้ต้องหา ประกันตัวใช้เวลานานเกินไป ประชาชนไม่เข้าใจถึงหลักเกณฑ์วงเงินค้ำประกัน ขั้นตอน ในการยื่นประกันตัวผู้ต้องหา การเตรียมเอกสารหลักฐานในการยื่นประกันตัวผู้ต้องหาไม่ครบทำให้เกิดความล่าช้า ประชาชนมีทัศนคติไม่ดีกับเจ้าที่ตำรวจไม่เชื่อมั่นในตัวเจ้าหน้าที่เกรงจะไม่ได้รับความเป็นธรรม ด้านบุคลากร เจ้าหน้าที่ตำรวจขาดความรู้ความเข้าใจขาดทักษะในการดำเนินการในเรื่องเกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหา ขาดจิตสำนึกในการให้บริการ พูดจาไม่ไพเราะ มีพฤติการณ์ไม่เหมาะสม ไม่ให้ความสนใจกับผู้มาติดต่องาน ขาดความกระตือรือร้นในการศึกษาหาความรู้ไม่มีป้ายและแผนผังขั้นตอนการติดต่องาน ทำให้ประชาชนไม่ได้รับความสะดวก ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีมีแต่บางครั้งไม่สามารถใช้งานได้เจ้าหน้าที่ไม่มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่ ปัญหาวงเงินหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่พอ จากปัญหาดังกล่าวได้นำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขพัฒนาระบบบริการประกันตัวผู้ต้องหาชั้นสอบสวน อบรมเจ้าหน้าที่ปลูกจิตสำนึกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจให้มีความรับผิดชอบต่อประชาชน บริการด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใสถูกต้องเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติจัดให้มีเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์คอยให้คำแนะนำและตอบข้อซักถามของประชาชน จัดทำเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและหลักเกณฑ์วงเงินค้ำประกันการประกันตัวผู้ต้องหาแจกจ่ายให้กับประชาชนผู้มาขอยื่นประกันตัวผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการให้บริการลดปัญหาการร้องเรียนเจ้าหน้าที่ตำรวจประชาชนมีความพึงพอใจในการให้บริการ

 

This research has the objectives to: study the current bail service system for the accused in the interrogation stage, study the state of problems and seek means of developing the bail service system for the accused in the interrogation stage. The population under the study comprises those involved with the bail for the accused. They are: policemen, the accused, and guarantors. The instruments used consist of an interview form and focus group discussion. In the interview, the population is divided into 2 groups: 1) policemen who execute the bail for the accused, 2) the accused who put up bail for themselves or the guarantors, who join the focus group with policemen who are experts and specialists.

The interview and focus group discussion reveal the steps and the state of problems of bail in the interrogation stage. The problems are that: the system takes too much time and there are no officers to give them information and assistance. As a result, the situation creates negative attitude toward the police. The important points are that the officers lack service skill, and there are no signboards to tell the steps of the bail. There is also inadequacy of technological materials and equipment for the service. In terms of the means of developing the bail service system for the accused in the interrogation stage, it is recommended that: training should be provided for the policemen who carry out the work in order that they become more responsible and unbiased; officers should be assigned to give customers information, advice and answers for their questions. The steps of practice in the bail service system should be written clearly on a signboard; leaflets or brochures containing necessary information should be distributed in order to give the customers convenience and knowledge of the steps and criteria of the bail service system for the accused in the interrogation stage as well as to save their time.

Downloads