แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • อภิชัย แก้วรุณา สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหารงาน, แนวทาง, หลักธรรมาภิบาล, Breakthrough, Administration Approach, Good Governance, Principle

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) เพื่อหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยได้แก่ ประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลนาคูจ้านวน 8 หมู่บ้าน อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 361 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามได้ทดสอบแบบสอบถามค่าความเชื่อมั่น 0.94 แนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับซึ่งหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย 6 หลักคือหลักนิติธรรมหลักคุณธรรมหลักความโปร่งใสหลักความมีส่วนร่วมหลักความรับผิดชอบและหลักความคุ้มค่าวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปค่าสถิติค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการของเทศบาลตำบลนาคูตามหลักธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมากทั้ง 6 หลักโดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักความมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม และหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ 2) ปัญหาของการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลนาคูตามหลักธรรมาภิบาลเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย 3 ลำดับคือมีงบประมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชนร้อยละ 32.71 รองลงมาคือยังดูแลประชาชนไม่ทั่วถึง 100% ร้อยละ 19.17 และประชาชนส่วนมากยังขาดความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างลึกซึ้งร้อยละ 15.79

ข้อเสนอแนะ/แนวทางการบริหารจัดการของเทศบาลตำบลนาคูตามหลักธรรมาภิบาลเรียงลำดับจากมากไปน้อย 3 ลำดับคือควรมีการจัดสรรงบประมาณควรคำนึงถึงผลที่เกิดประโยชน์กับประชาชนให้มากรองลงมาคือควรน้าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบริหารเทศบาลและผู้บริหารเทศบาลตำบลนาคูควรลงพื้นที่เพื่อให้คำชี้แนะและส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมาภิ บาลยิ่งขึ้น

 

The research titled “Guidelines for Developing the Administration under the Good Governance Principle of the Nakhu Sub-district Municipality, Nakhu, Kalasin aimed to 1) study the administration under the good governance principle, 2) investigate problems in administration under the good governance principle according to personal traits and 3) find out the guidelines for developing the administration under the good governance principle. Research samples were 361 local people residing in the jurisdiction of the Nakhu Subdistrict Municipality, Nakhu, Kalasin. The research instrument was a 5- rating-scale questionnaire on the guidelines for developing the administration under the good governance principles which included of 6 principles 1) rules of laws, 2) morale, 3) transparency, 4) participatory, 5) responsibility and 6) cost-effectiveness. Data were analyzed by using computer program SPSS for Windows and statistical analyze used frequency, percentage, mean and S.D.

1. The administration of the Nakhu Sub-district Municipality, Nakhu, Kalasin under the good governance principle was a high level in all 6 principles. It could be ranged by mean in order as the morale, transparency, responsibility, participator, rule of law and costeffectiveness, respectively.

2. The problems in administration of the Nakhu Sub-district Municipality, Nakhu, Kalasin under the good governance principle could be ranged from the highest to the lowest in three aspects of; firstly, the Nakhu Sub-district Municipality had inadequate budget comparing to the people’s needs (32.71%); secondly, the Nakhu Sub-district Municipality provided uneven serves to all people (19.17%) and finally, most of the people still lacked of information on the good governance in depth (15.79%).

3. The recommendations/guidelines on administration of the Nakhu Sub-district Municipality, Nakhu, Kalasin under the good governance principles could be ranged from the highest to the lowest in three steps; namely; first, the Nakhu Sub-district Municipality should provide budget allocation based on the needs of the local people; second, the Nakhu Sub-district Municipality should adopt the principles of sufficiency economy in administrating the municipality and third, the management of the Nakhu Sub-district Municipality should conduct field visit to provide information and enhance knowledge to local people in order to increase understanding of the good governance.

Downloads