การออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับธุรกิจอาหารคีโตเจนิก

Main Article Content

ฉันทิสา กลิ่นสุคนธ์
เสาวลักษณ์ พันธบุตร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาของผู้บริโภคในการรับประทานอาหารคีโตเจนิก
2) เพื่อศึกษาแนวทางในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบสำหรับอาหารคีโตเจนิก และ
3) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการด้านแอปพลิเคชันสำหรับอาหารคีโตเจนิกของผู้บริโภค โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยคือ ศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาในการรับประทานอาหารคีโตเจนิกจากกลุ่มที่มีปัญหาในการบริโภคอาหารคีโตเจนิกจำนวน 365 คน และจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการออกแบบแอปพลิเคชัน 3 คน


             ผลการวิเคราะห์พบว่า 1) จากผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่าปัญหาของผู้บริโภคในการปรับประทานอาหารคีโตเจนนิกพบว่า อันดับ 1 คือปัญหาการเลือกซื้อและรับประทานอาหารนอกบ้าน อันดับ 2 คือปัญหาด้านสุขภาพ และอันดับ 3 คือปัญหาความหลากหลายของเมนูอาหาร 2) แนวทางในการออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการออกแบบโดยอาศัยข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบ ร่วมกับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้งานแอปพลิเคชันต้นแบบ นำไปสู่การพัฒนาแอปพลิเคชันที่เน้นความง่ายในการใช้งานและสร้างความครอบคลุมบริการด้านข้อมูลที่เหมาะสมทั้งสำหรับผู้บริโภคและผู้ประกอบการ 3) ผลการวิเคราะห์ความต้องการด้านแอปพลิเคชันสำหรับอาหารคีโตเจนิกของผู้บริโภคจากผลการวิจัยเชิงปริมาณ สรุปว่าระดับความคิดเห็นด้านเนื้อหาพบว่าภาพรวมมีความคิดเห็นถึงความเหมาะสมในการนำเสนอเนื้อหาระดับมาก ประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุดคือ การนำเสนอมีข้อมูลครบถ้วน ระดับความคิดเห็นด้านการออกแบบ พบว่าภาพรวมมีความคิดเห็นถึงความเหมาะสมในการออกแบบระดับมาก ประเด็นที่เห็นด้วยมากที่สุดคือ ตัวอักษรประกอบรูปภาพหรือปุ่มออกแบบให้อ่านได้ง่าย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เครือวัลย์ พรมลักษณ์. (2564). อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) และ สภาวะคีโตซิส (Ketosis) คืออะไร?. NFI Food Innovation Issue, (มกราคม 2564) 1 - 3.

ชมดาว สิกขะมณฑล. (2565). ผลิตภัณฑ์คีโตเจนิก. วารสารวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, 52(3) 15 - 24.

ญาณิศา นุตลักษณ์. (2562). การวิจัยและพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบธุรกิจจัดหางานสำหรับผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบเพื่อธุรกิจิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

เปมิกา สิทธิพุทธากุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์คีโตเจนิกของกลุ่มผู้บริโภคอาหารคีโตเจนิกในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกจิมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาดยุคดิจิทัล วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพฯ.

พรทิพย์ เรืองธรรม. (2556). ทฤษฎีการออกแบบ = Design theory. กรุงเทพฯ : อินทนิล.

ยูนิลิเวอร์ ฟู้ดส์โซลูชั่นส์. (2564). ยูนิลิเวอร์ ฟู้ดส์โซลูชั่นส์ เผย 7 เทรนด์ “อาหาร” ที่จะมาแรงในปี 2021. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566 จากhttps://www.brandbuffet.in.th/2021/02/%E0%B8%B5unilever-food-solutions-research-7-food-trend-watch-2021/

สมิทธิ โชติศรีลือชา. (2563). Ketogenic Diet for Thai DM Friends. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2566 จาก https://www.thaidietetics.org/wp-content/uploads/2020/07/Ketogenic-diet-for-Thai-DM-Friends.pdf

Dickerson, J. C. (2013). Ux101: A Primer on User Experience Design. UK: CreateSpace Independent Publishing.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row.