หมู่บ้านอี้เคอซู่: หมู่บ้านศิลปะเพื่อการจัดการทรัพยากรทางวัฒนธรรมบนเส้นทางสายไหม มณฑลซินเจียง

Main Article Content

Baoyun Xiao
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
ภูวษา เรืองชีวิน

บทคัดย่อ

จากมุมมองของการพัฒนาทางสังคมในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา ซินเจียงซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมสู่ตะวันตกตั้งอยู่ในพื้นที่ยูเรเชีย วัฒนธรรมซินเจียงแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของความหลากหลาย เปิดกว้างและผสมผสาน หมู่บ้านอี้เคอซู่ตั้งอยู่ที่ตำบลชีหู้ อำเภอฉีไถ เมืองชังจี๋ มณฑลซินเจียง เป็นที่ตั้งของเส้นทางสายไหมสู่ตะวันตก ที่นี่มีสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่พิเศษ บนความสูงน้ำทะเล 1700 เมตร มีต้นเอล์มเก่าแก่ต้นหนึ่งซึ่งมีอายุร้อยกว่าปี ราวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองให้ชาวชีหู้แคล้วคลาดจากอันตราย หมู่บ้านอี้เคอซู่ถือเป็นเขตเฉียนซาน ทางเหนือของภูเขาเทียนซาน ด้านหลังคือภูเขาเทียนซาน เป็นลักษณะเด่นของพื้นที่ภูเขา เป็นพื้นที่บริสุทธิ์ทางนิเวศวิทยา วัตถุประสงค์การวิจัยการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมหมู่บ้านอี้เคอซู่ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านอี้เคอซู่ในแถบพื้นที่ตะวันตก เผยให้เห็นถึงทรัพยากรวัฒนธรรมของหมู่บ้านอี้เคอซู่ 2) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ บริบทแวดล้อมเชิงนิเวศน์และศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้านของหมู่บ้านอี้เคอซู่สู่การจัดการหมู่บ้านศิลปะในมุมมองใหม่ 3) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศิลปะหมู่บ้านศิลปะอี้เคอซู่ ส่งเสริมให้มีความเหมาะสมกับการพัฒนาของยุคสมัย พัฒนาต่อไปในระดับนานาชาติจากแผนการที่ครอบคลุมของระบบนิเวศวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ทั้งนี้ดำเนินการศึกษาโดยใช้วีธีการวิจัยเอกสาร วิธีการวิจัยภาคสนาม และวิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการ


ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยผสมผสานทฤษฎีเข้ากับกรณีศึกษา ได้แก่ 1) วิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาเอกสารจำนวนมากเกี่ยวกับการจัดการวัฒนธรรมศิลปะ 2) วิธีการวิจัยภาคสนาม การลงพื้นที่หมู่บ้านอี้เคอซู่ มณฑลซินเจียงเพื่อศึกษาลงลึก ได้ข้อมูลชั้นปฐมภูมิ 3) วิธีการวิจัยแบบสหวิทยาการ เช่น ทรัพยากรมรดกวัฒนธรรม การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การสร้างร่วมกันและการพัฒนาของภูมิทัศน์วัฒนธรรมและนิเวศวิทยาธรรมชาติ เป็นต้น


ผลการวิจัยครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย และได้รับผลลัพธ์ที่ดี คือ 1) แสดงให้เห็นวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านอี้เคอซู่ในภูมิภาคตะวันตกผ่านการสำรวจเชิงลึกเกี่ยวกับภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางนิเวศวิทยา ประเพณีพื้นบ้าน ศิลปะของชนกลุ่มน้อยและภูมิปัญญาพื้นบ้าน พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ และสภาพแวดล้อมที่สวยงามโดยรอบของหมู่บ้านอี้เคอซู่


2) งานวิจัยฉบับนี้ครอบคลุมเอกลักษณ์ สภาพแวดล้อมทางนิเวศน์ วัฒนธรรมดั้งเดิม และชุมชนของหมู่บ้านอี้ซู่เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการพื้นที่ทางวัฒนธรรมใหม่ ซึ่งได้สรุปรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาภูมิภาคตะวันตกโดยอาศัยการทดลองเชิงลึก หมู่บ้านอี้เคอซู่เป็นชุมชนศิลปะนานาชาติที่ผสมผสานสถาปัตยกรรมเข้ากับธรรมชาติและทิวทัศน์อันงดงามของภูเขา ป่าไม้ และชนบท สิ่งนี้สามารถสร้างรูปแบบและกรอบของการสร้างสรรค์งานศิลปะ การชื่นชมศิลปะ และการบริโภคศิลปะ และสร้างไลฟ์สไตล์ใหม่ทางศิลปะ 3) สร้างโครงสร้างการจัดการวัฒนธรรมการท่องเที่ยวสำหรับหมู่บ้านอี้เคอซู่ ประกอบด้วยหอศิลป์อี้เคอซู่ เทศกาลศิลปะอี้เคอซู่ โฮมสเตย์ การสอนและฐานการทดลองการสร้างสรรค์ ชุมชนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ เป็นต้น ส่วนเหล่านี้ก่อเกิดเป็นระบบที่มีความสมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มามณฑลซินเจียงได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่หลายมิติทั้งในด้านการมองเห็น การรับรส การได้ยิน การสัมผัส และการได้กลิ่น เติมเต็มอารมณ์และความฝันของศิลปะตะวันตกในใจของผู้คน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Jiang, Xiaofeng. (2020). Thoughts on the integrated development of Xinjiang’s culture and tourism industry. Economic Research Guide, (19), 160-162. from https://kns.cnki.net/kcms2/article/abstract?v=Nk4cZQau9qH8Mpa8YiOvdTtiKAAtKoHVh0Cj2yin_vyN7aewOoj3bMwBSPfBiycikKyQscMg3qmIcGtZ0vXT-x0ldzxtV6okNGX8oZh5zvKbZf9TsP6Go301xWBDOEYMpLt763O7Gv8=&uniplatform=NZKPT&language=CHS.

Zhang, Xi-you. (2018). Evaluation of Intangible Cultural Heritage Tourism Resources in Xinjiang Multi-ethnic Areas. Guizhou Eth-nic Studies (10), 152-157. doi:10.13965/j.cnki.gzmzyj10026959.2018.10.034.

Qin Wenxiu and Zhang Yuping. (2017). The Feasibility of Intangible Cultural Heritage Protection and Cultural Tourism Based on AR Technology in Xinjiang. Research on Heritages and Preserva-tion (6), 81-82. doi:10.19490/j.cnki.issn2096-0913.2017.06.019.