การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำ กรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป

Main Article Content

ชญานิศา วงษ์พันธ์ุ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อการมาเยือนกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป  โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 246 คน ใช้วิธีเลือกโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามภาษาอังกฤษ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของครอนบัด (Cronbach) X เท่ากับ 0.852 และ Y เท่ากับ 0.880 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression)


       ผลของการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำในด้านการบริการมากที่สุด (Beta = .254) รองลงมา คือความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำในด้านความปลอดภัยและอาชญากรรม (Beta = .191) ความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำในด้านด้านบุคคล (Beta = .166)  ที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสามารถนำไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เพิ่มมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการรวมถึงการพัฒนาบุคลากรในสายงานของธุรกิจให้มีศักยภาพและคุณภาพในงานบริการอย่างมีมาตรฐาน สากลประเทศ และรักษาระดับมาตรฐานการบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านความปลอดภัยและอาชญากรรมควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยที่จะไม่โดนโกง ถูกหลอก หรือการถูกทำร้ายจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรุงเทพมหานครและประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2560, จาก วิกิพีเดีย https://www.2tat.or.th/wiki/
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2554). วิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เลิศพร ภาระสกุล และ คณะ. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
เลิศพร ภาระสกุล. (2558). แรงจูงใจและทัศนคติที่ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวชาวจีนต่อ
การท่องเที่ยวประเทศไทย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภลักษณ์ อัครางกูร. (2548). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยว
กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2540). การศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยว
เชิงเกษตร. กรุงเทพฯ : สยามมิตรการพิมพ์.
สุรชัย จันทร์จรัส, พงศธร ชัยสวัสดิ์, และอโณทัย หารสาร. (2559). อุปสงค์การกลับมาเที่ยวซ้ำและการเลือกที่พัก
ของการท่องเที่ยวจังหวัดน่าน. วารสารศาสตร์สาขาวิชาสังคมศาสตร์, 36(1), 25-48.
อนันต์ เชี่ยวชาญกิจการ. (2556). การพัฒนาคุณภาพบริการสำหรับสถานประกอบการสปาในกลุ่มท่องเที่ยว
แอ็กทีฟบีช ประเทศไทย กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อัศวิน แสงพิกุล. (2560). การศึกษาผลของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปที่มีต่อความภักดีต่อจุดหมาย
ปลายทางการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Supitchayangkool, S. (2012). The differences between satisfied/dissatisfied tourists towards service quality and
revisiting Pattaya, Thailand. International Journal of Business and Management, 7(6), 30-39.