ผลการพัฒนาทักษะ Coding สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอย โดยใช้ชุดกิจกรรม Coding

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ สายสุวรรณ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • เกตุมณี มากมี คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
  • วีระศักดิ์ ชมภูคำ คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่

คำสำคัญ:

การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21, ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, การเรียน Coding, ทักษะ Coding, วิทยาการคำนวณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีดังนี้ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรม Coding 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะ Coding ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการใช้ชุดกิจกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอย (ดอยสะเก็ดศึกษา) ต่อการใช้ชุดกิจกรรม กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านเชิงดอย จำนวน 20 คน เป็นตัวแทน ประชากร นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านเชิงดอย เครื่องมือวิจัยที่ใช้ คือ ชุดกิจกรรม coding

ผลการวิจัย พบว่า ชุดกิจกรรม Coding มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 72.70/74.20 คะแนนหลังเรียนของนักเรียนมีคะแนนค่าเฉลี่ย เท่ากับ 21.60 จากคะแนนเต็ม 30 (มากกว่า 60%) และค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ เท่ากับ 4.84 ดังนั้น สรุปได้ว่า ชุดกิจกรรม Coding มีประสิทธิ์ภาพในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนด้านทักษะ Coding และมีนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้ชุดกิจกรรม

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้น 25 ธันวาคม 2565, จาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-พ.ศ.2542-ฉ.อัพเดท.pdf

ไทยพับลิก้า. (2563). เศรษฐกิจไทย กลับไม่ได้-ไปไม่ถึง หากไม่พึ่งเทคโนโลยี ชี้กลุ่ม F-A-T-E มีโอกาสต่อยอดได้ง่าย. สืบค้น 6 กันยายน 2565, จาก https://thaipublica.org/2020/11/kkp-research17

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มติชนออนไลน์. (2564). คุณหญิงกัลยา ชูนโยบาย Coding For All เป็นทางรอดสู้ทุกวิกฤต เร่งกระจายการเรียนรู้สู่ปชช.ทุกภาคส่วน. สืบค้น 6 กันยายน 2565, จาก https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2879796

รัตนะ บัวสนธ์. (2563). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Celalettin, O., & Murat, T. (2018). The Effect of Coding Teaching on Student’ Self-Effecary Perceptions of Technology and Dedign Course. Sustainability, 10(10), 1-29.

Cilem, O., & Ozgen, K. (2020). The Effect of Gamification Activities on Students' Academic Achievements in Social Studies Course, Attitudes towards the Course and Cooperative Learning Skills. Participatory Educational Research, 7(1), 1-15.

FunTechBlog. (2021). 13 reasons why every parent should encourage their child to learn coding skills. Retrieved September 6, 2022, from https://funtech.co.uk/latest/13-reasons-why-every-parent-should-encourage-their-child-to-learn-coding-skills

PISA. (2018). PISA 2018 worldwide ranking–average score of mathematics, science and reading. Retrieved September 6, 2022, from https://factsmaps.com/pisa-2018-worldwide-ranking-average-score-of-mathematics-science-reading

Tunku, M. (2013). Steve Jobs: “Everybody in this country should learn to program a computer, because it teaches you how to think”. Retrieved September 6, 2022, from https://bambooinnovator.com/2013/11/30/steve-jobs-everybody-in-this-country-should-learn-to-program-a-computer-because-it-teaches-you-how-to-think

Ugur, T. K., & Zafer D. (2017). Teaching Coding to Children: A Methodology for Kids 5+. International Journal of Elementary Education, 6(4), 32-37.

Vala, A. (2017). Coding and A Rookie Mindset are critical skill for the fourth industrial revolution. Retrieved September 6, 2022, from https://www.huffpost.com/entry/coding-and-a-rookie-minds_b_11296498

Vasfi, T., Huseyin, U., & Fezile, O. (2017). Coding Education in Flipped Classroom. TEM Journal, 6(3), 599-606.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30