การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (4Cs) ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์, องค์ประกอบเชิงยืนยัน, ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม, มหาวิทยาลัยพะเยาบทคัดย่อ
บทความวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบความเหมาะสมของตัวชี้วัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 600 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และ 2) แบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ มัธยฐาน (Mdn) พิสัยระหว่างควอไทล์ (IQR) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวชี้วัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีจำนวน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทำงานร่วมกัน ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร ประกอบด้วย 10 ตัวชี้วัด เมื่อทำการพิจารณาความเหมาะสมของตัวชี้วัด พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (Mdn = 4.000, IQR = 0.500-1.500) จำนวน 9 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเปิดรับข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ การเชื่อมโยงของข้อมูล แหล่งที่มาของข้อมูล ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในทีม การแบ่งหน้าที่การทำงานในทีม ความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่ ความคล่องแคล่วในการใช้ความคิด ความสามารถในการสื่อสาร และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mdn = 5.000, IQR = 1.000) จำนวน 1 ตัวชี้วัด คือ การรับข้อมูลและตีความหมาย และ 2) ตัวชี้วัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (4Cs) มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 30.399, df = 22, ค่า p-value = 0.109, RMSEA = 0.025, CFI = 0.999 และ SRMR = 0.007) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยที่ค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกตัวชี้วัด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). แนวคิดของการสื่อสาร. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก http://phttararit-communication.blogspot.com/2015/11/blog-post.html
โกวัฒน์ เทศบุตร. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้การคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(พิเศษ), 328-341.
ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2555). การประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่21. จุลสารนวัตกรรม, 7(26), 4-9
ธนวัฒน์ เจริญษา และ สุภาณี เส็งศรี. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัลกับทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและนวัตกรรม สถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร, 3(2), 21-29.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประทีป คงเจริญ. (2564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยธนบุรี, 15(3), 165-177.
ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. (2563). Critical Thinking สิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานยุคใหม่. สืบค้น
ธันวาคม 2564, จาก https://www.popticles.com/business/critical-thinking-for-today-work/
พาที เกศธนากร. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารราชภัฏเพชรบรณ์สาร, 20(1), 97-107.
มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2556). โครงการเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทย (ระยะที่4) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.
วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(2), 3-14.
ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2554). Collaborative Marketing (Marketeer/03/49). สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก http://marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=4040
สายพิน แก้วงามประเสริฐ. (2552). การคิดอย่างมีวิจารณญาณ. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก https://www.gotoknow.org/posts/206218
อรนุช กำเนิดมณี. (2562). ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและผลการเรียนรู้จริงตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยคณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ. วารสารวิชาการ ปขมท, 9(3), 30-41.
อรอำไพ ศรีวิชัย. (2555). แนวคิดของการสื่อสาร. สืบค้น 24 ธันวาคม 2564, จาก http://phttararit-communication.blogspot.com/2015/11/blog-post.html
Assessment Force Task. (2007). Community College of Philadelphia Learning Outcomes Assessment Model. Philadelphia: College of Philadelphia.
Battelle for Kids. (2010). Partnership for 21st Century Skills 2009; Partnership for 21st century skills 2020. Retrieved January 18, 2021, from https://www.battelleforkids.org/networks/p21
Ferrés, J., & Masanet, M. J. (2017). Communication efficiency in education: Increasing emotions and storytelling. Comunicar. Media Education Research Journal, 25(2), 51-60.
Nunnally, J. C. (1959). Test and Measurement. New York: McGraw Hill.
Nurlenasari, N., Lidinillah, D., Nugraha, A., & Hamdu, G. (2019). Assessing 21st century skills of fourth-grade student in STEM learning. Journal of Physics: Conference Series, 1318(1), 1-7
Partnership 21st Century Skills. (2020). Framework for 21st Century Learning. Retrieved January 18, 2021, from http://www.p21.org/index/phpoption=com_content&task=view&id=507&Itemid=191
World Economic Forum. (2020). Shaping the Future of the New Economy and Society. Retrieved December 27, 2021, from https://www.weforum.org/platforms/centre-for-the-new-economy-and-society
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ