ข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรม ทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การต่อต้านทุจริต, ข้อสนอเชิงนโยบาย, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา 2) สังเคราะห์กระบวนการการสร้างความเข้มแข็งฯ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างความเข้มแข็งฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ บุคลากรจากสถาบันการศึกษา 4 แห่ง จำนวน 20 รูป/คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบวิธีการผสมผสาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- กระบวนการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต ใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา การใช้หลักธรรมในชีวิตประจำวัน อาทิ พรหมวิหาร 4, อริยสัจ 4, สังคหวัตถุ 4, ฆราวาสธรรม 4, หลักสันโดษ, และหลักสุจริต ส่งผลให้ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่บุคลากร นักเรียนนักศึกษามีความสามัคคี มีความซื่อสัตย์ มีความศรัทธา และมีความรักในองค์กรสถาบันมากยิ่งขึ้น
- การสังเคราะห์กระบวนการการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริตฯ พบว่า มีปัญหาและอุปสรรคด้านการสื่อสารในองค์กร เกิดองค์ความรู้ คือ 1) เกิดการจัดกระบวนการเรียนรู้เชิงพุทธศาสนาอย่างมีส่วนร่วม 2) เกิดการจัดการความรู้ ผู้บริหารสามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากการเรียนรู้หลักธรรมนั้นมาพัฒนาให้เป็นระบบ
- การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริตฯ มีข้อเสนอแนะ 2 ข้อ คือ 1) การนำกิจกรรมการสร้างความเข้มแข็งและหลักธรรมเข้าสู่องค์กรการศึกษาเชิงพุทธ ในการสร้างความเข้มแข็งการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เข้าสู่กลุ่มองค์กรสถาบันการศึกษา 2) การพัฒนาหลักสูตรการสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เข้ากับหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาหลักสูตรในอนาคตและเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์เปลี่ยนแปลงของโลกในยุคศตวรรษที่ 21
References
กรุงเทพธุรกิจ. (2561, 30 พฤษภาคม). องค์กรท้องถิ่น แชมป์ถูกร้องสอบโกง ตร.อยู่อันดับ 3. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews. com/news/detail/803342
กัญญภัทร จำปาทอง, อุทุมพร อินทจันทร์, และนลินรัตน์ รักกุศล. (2559). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนเรื่องทักษะอาชีพผ่านสื่อโทรทัศน์ ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 6(3). 69-79. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/EAUHJSocSci/article/view/70894
ชุมแพ แสนยะบุตร และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และภาคประชาชนต่อต้านการทุจริตขององค์กรชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(3), 53-62. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/npuj/article/view/87344
ไทยรัฐออนไลน์. (2561, 16 กุมภาพันธ์). คอร์รัปชันไทยรุนแรงรอบ 3 ปี เอกชนรุมจ่ายเงินใต้โต๊ะปี 61 ชิงงานรัฐ. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/1205688
พรเทพ จันทรนิภ. (2559). การพัฒนารูปแบบการป้องกนัการทุจริตคอร์รัปชั่น ในภาครัฐเพื่อการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีในสังคมไทย. วารสารเกษมบัณฑิต, 16(1), 88-89. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jkbu/article/view/34676
วนิดา ชุมนุม. (2561). ธรรมาภิบาลแนวพุทธ: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), 59-65. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/153735
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_ link.php?nid=6422
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีพ.ศ. 2561-2580. Government Digital Transformation. https://pub.nstda.or.th/gov-dx/national-strategy-2561-2580
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perception Index) พ.ศ. 2564. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=7433& filename=anti_coruption.
พลวุฒิ สงสกุล. (2560). 10 ประเด็นคอร์รัปชันในสังคมไทยที่ต้องจับตาต่อปี 2018. The Standard. https://thestandard.co/keep-an-eye-on-thai-corruption-2018
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มมร วิชาการล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ผลการวิจัยและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความ ถือเป็นความคิดเห็นและอยู่ในความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ มิใช่ความเห็นหรือความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ หรือมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาดอันเกิดจากการพิมพ์
บทความที่ได้รับการเผยแพร่โดยวารสาร มมร วิชาการล้านนาถือเป็นสิทธิ์ของวารสารฯ