ผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการทำงาน ของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ลลิตา พิมทา
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบความความสัมพันธ์และผลกระทบของจริยธรรมทางการบัญชีที่มีต่อความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีบริษัทในจังหวัดร้อยเอ็ด โดยทำการเก็บรวบข้อมูลจากนักบัญชีบริษัทด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบวิธีจับฉลาก จำนวน 117 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทดสอบค่าความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องมือ พบว่า ค่าอำนาจจำแนกของแบบสอบถามเป็นรายข้อ ซึ่งจริยธรรมทางการบัญชี มีค่าอยู่ระหว่าง 0.596 – 0.915 และความสำเร็จในการทำงาน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.615 – 0.876 และการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของ Cronbach ซึ่งจริยธรรมทางการบัญชี มีค่าเท่ากับ 0.988 และความสำเร็จในการทำงาน มีค่าเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


        ผลการวิจัยพบว่า 1) จริยธรรมทางการบัญชี ด้านความซื่อสัตย์  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ 2) จริยธรรมทางการบัญชี ด้านความเที่ยงธรรม  มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม 3) จริยธรรมทางการบัญชี ด้านการรักษาความลับ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม ด้านความพึงพอใจในงาน ด้านความก้าวหน้าในการทำงาน และด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว, ยุพรัตน์ จันทร์แก้ว, นิภาพร นุ่มนวล และเชิดพงษ์ ขำประดิษฐ์. (2560). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ สำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเขตอำเมือง จังหวัดตาก. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 1-15.
จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน.กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.
ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2560). จริยธรรมและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. อุดรธานี: ศักดิ์ศรีอักษรการพิมพ์.
ฐิติรัตน์ มีมาก, อภิชาต บุญเกิด, รัฐวุฒิ โพธิกำจร, ประภัสสร ตันติพันธ์วดี, สกลเกียรติ สังวรกิตติวุฒิและรัชนีกร จันทิมิ. (2560). ผลกระทบของจรรยาบรรณของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานงานของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตอำเภอเมือง จังหวัด นครราชสีมา.วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 3(1), 150-164.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2560). จริยธรรมธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประดินันท์ ประดับศิปล์ และลักษณา เกตุเตียน. (2557). จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ทำบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครต่อการจัดทำบัญชีและนำเสนองบการเงินที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
พิชญา ตัณฑัยย์. (2558). ประเด็นทางจริยธรรม กฎหมาย และสังคม ของวิชาชีพคอมพิวเตอร์. สงขลา: โรงพิมพ์ดิจิตอล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พิมพรรณ กวางเดินดง. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นผู้นำการมองในแง่ดี และความสำเร็จในการทำงานของวิศวกรโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะมนุษยศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มารีนี กอรา. (2559). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีและการบริหารความเสี่ยงที่มีผลต่อคุณภาพรายงานทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ใน 5 จังหวัด ชายแดนใต้. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต, คณะวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รัชนีกร จันทิมี และ ฐิติรัตน์ มีมาก. (2559). จรรยาบรรณของนักบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีที่ปฏิบัติงานในสำนักงานบัญชี ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ 2559 (หน้า 1,123 – 1,131). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
รสสุคนธ์ ศุนาลัย. (2555). แนวทางการเสริมสร้างจริยธรรมของผู้ประกอบการวิชาชีพด้านการสื่อสารและสารสนเทศ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วริยา ชินวรรโณ และฐิตารีย์ ศิริศรีษรชัย. (2558). จริยธรรมในวิชาชีพนักการเมือง.นครปฐม:มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุจิตตรา แสนชัย, ศรีรุ่งรัตน์ สุขสมบูรณ์ และพีระวัฒน์ ไชยล้อม. (2560). ผลกระทบของจริยธรรมทางวิชาชีพบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9(3) 58-60.
สิทธิกร ด่านพิไลพร. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจประกันวินาศภัยเขตภาคเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต,คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี, มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
สุพัตรา รักการศิลป์, เอมอร แสวงวโรตม์ และผกามาศ บุตรสาลี. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุภาภรณ์ ยอดมิ่ง. (2558). ผลกระทบทางสมรรถนะวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อคุณภาพข้อมูลทางบัญชี: สำนักงานคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). สารนิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต, คณะการบัญชี, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมใจ ลักษณะ. (2543). การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน. กรุงเทพฯ: คณะวิทยาการจัดการ สถาบันราชภัฎสวนสุนันทา.
สุมินทร เบ้าธรรม และดวงฤดี อู๋. (2559). จรรยาบรรณวิชาชีพ มุมมองของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย.วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 8(2), 141-156.
สำนักงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. (2560). รายงานสถิติจังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
อัครเดช ไม้จันทร์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มอุตสาหกรรมการติดตั้งเครื่องจักรสายการผลิตในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ,มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนงค์วรรณ อุปดิษฐ์. (2561). ความสัมพันธ์ของจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดลำปาง.วารสารวิชาการ ศิลปะศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 11(1), 81-91.
Aaker, D. A., Kumer, V. & Day, G. S. (2001). Marketing Research. (7th ed.). New York: John Wiley & Sons.
Back, Ken. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Making. (7th ed.). USA: John Wiley and Sons, Inc.
Brown, R. (1965). Social Psychology. New York: Free Press.
Hoffman, M.L. (1979). Development of Moral Thought Feeling and Behavior. American Phychology, 10(I), 958-966.
Kohlberg, L. 1969. Stage and Sequence: The Cognitive-development Approach to Socialization inGoslin; In Handbook of Socialization Theory and Research. Chicago: Rad, Menaly & Company